ระบบ ERP คืออะไร [อัปเดต 2025] หาคำตอบ พร้อมสู่การเติบโตของธุรกิจ

ERP ระบบที่จะช่วยให้การบริหารองค์กรของคุณง่ายขึ้น ผ่านการเชื่อมโยงการทำงานแต่ละแผนกภายในองค์กรไว้บนระบบเดียว

รู้จักกับ 'ระบบ ERP'
ซอฟต์แวร์ทรงพลังเพื่อการเติบโตของธุรกิจ

​สนามแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันไม่ต่างอะไรกับการเล่นเกม เมื่อ ‘ผู้อยู่รอดคือผู้ที่ปรับตัวได้เร็วที่สุด’ แต่การปรับตัวแบบไหนที่จะท่วงทันกับความเปลี่ยนแปลง ก็ยังคงเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องหาคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในด้านการตลาด ความรู้ในการบัญชีและการเงิน การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจ สิ่งเหล่านี้นับเป็นความท้าทายที่จะพาธุรกิจเติบโต

​แล้วเทคโนโลยีมีส่วนรักษาความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจการเติบโตได้อย่างไร เราจะพามาหาคำตอบเกี่ยวกับระบบ ERP กุญแจสำคัญสู่การเติบโตของธุรกิจอย่างละเอียดได้ในบทความนี้กันเลย​


Table of Contents : เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ตรงนี้เลย

ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คืออะไร?

ระบบ ERP คืออะไร

​ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร ที่สามารถรวบรวมข้อมูลขององค์กรและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างแผนกบนระบบเดียว จึงช่วยลดข้อผิดพลาดและความซับซ้อนในการทำงาน ทำให้ขั้นตอนการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

​​ระบบ ERP ประกอบไปด้วยโมดูล (Module) การทำงานย่อย ๆ หรือแบ่งเป็นแต่ละแผนกนั่นเอง เช่น ระบบงานขาย ระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบบัญชีและการเงิน โดยแต่ละโมดูลสามารถทำงานเชื่อมกันได้ตาม Operation การทำงานของธุรกิจ ในธุรกิจขนาดเล็กอาจต้องการเพียงไม่กี่โมดูลในช่วงเริ่มต้น แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เพราะระบบ ERP มีความยืดหยุ่นและพร้อมรองรับการเติบโตเมื่อธุรกิจขยายตัว

5 เทรนด์ ERP ในปี 2025

AI, IoT และ Cloud จะเข้ามามีบทบาทกับระบบ ERP อย่างไร?

  • ERP ที่ตอบโจทย์เฉพาะอุตสาหกรรม

​ระบบ ERP จะก้าวหน้ามากกว่าเดิม ด้วยการออกแบบและพัฒนาฟังก์ชันมาเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ใช่ระบบ ERP สำเร็จรูปที่มีฟังก์ชันมาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสุขภาพ อาหาร หรือการผลิต ระบบ ERP จะถูกปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านของคุณ เพิ่มความคล่องตัวและความแม่นยำในการทำงาน

  • IoT เชื่อมต่อทุกอย่างให้เป็นหนึ่งเดียว

​IoT กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจ ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการที่เชื่อมต่อข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดอย่าง 5G และ 6G

​การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT ร่วมกับ ERP จะกลายเป็นเทรนด์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่การจัดการซัพพลายเชนจนถึงการขนส่งสินค้า เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดข้อผิดพลาด

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์

​ระบบ ERP จะมีมาตรการ Cybersecurity ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำ AI เข้ามาช่วยตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม เช่น การโจมตีทางไซเบอร์  เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลขององค์กรจะไม่ถูกคุกคาม ปลอมแปลง หรือรั่วไหล และปกป้องข้อมูลสำคัญและการทำธุรกรรมขององค์กร

  • Cloud ERP ระบบที่ยืดหยุ่นและคุ้มค่า

​Cloud ERP กำลังเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน และสร้างเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าองค์กรทั่วโลกเริ่มหันมาใช้ Cloud ERP กันมากขึ้น เนื่องจากยังมีความยืดหยุ่น ลดค่าค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ และติดตั้งได้เร็วกว่า ERP แบบ On-premise 

​จากการคาดการณ์ของ Fortune Business Insights คาดว่ามูลค่าของตลาด Cloud ERP จะเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2567 เป็น 1 แสน หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2575 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 15.5%

​นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา ลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

บทความแนะนำ: 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ที่
5 เทรนด์เทคโนโลยี ERP ปี 2568 จะเปลี่ยนโลกธุรกิจอย่างไร?

จุดเด่นของระบบ ERP ตัวช่วยเพื่อธุรกิจทุกขน​าด

​ด้วยความที่ระบบ ERP มีโมดูลการทำงานที่ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงานของธุรกิจ จึงเข้ามาช่วยให้การวางแผนและการบริหารทรัพยากรขององค์กรนั้นเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระบบ ERP มีจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่ 3 ประการ

ครบ จบ บนระบบเดียว

ด้วยการเชื่อมโยงการทำงานของทุกแผนกในองค์กร

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีม

ลดขั้นตอนซ้ำซ้อน ช่วยให้ทำงานรวดเร็วขึ้น

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ

ด้วยข้อมูลที่ถูกอัปเดตแบบถูกต้องและเรียลไทม์

บทความแนะนำ: 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ที่
3 จุดเด่นของ 'ระบบ ERP' ที่ทำให้ธุรกิจชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้งาน

ทำไม 'ระบบ ERP' จึงสำคัญกับธุรกิจของคุณ

ระบบ ERP ทำหน้าที่เหมือนเป็น “ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ” แต่การจราจรนี้เป็นการจราจรสำหรับบริหารจัดการธุรกิจ โดย ERP จะเข้ามารวมศูนย์ข้อมูลและเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างประสบความสำเร็จ

​หากไม่มีระบบ ERP แผนกต่าง ๆ ภายในบริษัท มักมีการจัดการข้อมูลและใช้ซอฟต์แวร์ที่แยกจากกัน หรือเรียกว่าการทำงานแบบ Siloed โดยแต่ละแผนกก็จะมีวิธีการจัดการงานและดำเนินธุรกิจในแง่มุมที่แตกต่างกันด้วย ทำให้พนักงานมองไม่เห็นภาพรวมขององค์กร เพราะไม่เข้าใจ Workflow การทำงานภาพรวม ผู้บริหารจะนำข้อมูลไปปรับปรุงและวิเคราะห์ต่อก็เป็นเรื่องยาก

เปรียบเทียบ Siloed Work กับ ERP

​ระบบ ERP ซึ่งมีจุดเด่นในการรวมศูนย์การทำงาน จึงเข้ามาและพัฒนาโซลูชันทั่วทั้งบริษัท ทำให้ทุกส่วนทุกแผนกสามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้อย่างง่ายดาย มีข้อมูลที่เรียลไทม์ และทำให้ Operation การทำงานของธุรกิจดำเนินไปบน Workflow การทำงานเดียวกัน ทำให้การทำงานไหลลื่นและมี Productivity มากยิ่งขึ้นนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบ ERP จึงสำคัญกับธุรกิจขนาด

ธุรกิจขนาดเล็กจะสามารถใช้ระบบ ERP ได้หรือไม่

แม้ว่าการจัดการธุรกิจจะเพิ่มความซับซ้อนเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น แต่ผลการสำรวจของ Forbes Advisor พบว่าในปี 2024 ธุรกิจ SMEs จำนวนมากต่างหันมาใช้ซอฟต์แวร์ ERP เพราะต้องเผชิญกับองค์ประกอบทางธุรกิจที่หลากหลาย เช่น การจัดการบัญชี การจัดการสินค้าคงคลัง และการจัดการงานขาย ระบบ ERP จึงเป็นตัวลือกที่ดีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้

​​รวมถึงปัจจุบันผู้ให้บริการ ERP ต่างพัฒนาระบบอยู่ในรูปแบบ Cloud ERP โดยให้บริการในรูปแบบ SaaS ที่ผู้ใช้งานสามารถชำระเงินสามารถได้ทันที และใช้งานผ่านเบราว์เซอร์หรือแอปได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่มักมีราคาแพง เพิ่มทางเลือกให้ SMEs ทุกขนาดใช้ระบบ ERP ได้โดยไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่าย และยังได้รับประโยชน์จากการที่ผู้ให้บริการอัปเดตเวอร์ชันและพัฒนาฟีเจอร์อยู่เป็นประจำ

ประเภทของ 'โปรแกรม ERP'

ประเภทของโปรแกรม ERP, On-Premise ERP, Cloud ERP, Hybrid ERP

  • On-Premise ERP​

​On-Premise ERP เป็นระบบที่ติดตั้งและใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร องค์กรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และรับผิดชอบการบำรุงรักษาระบบเอง โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามขนาดของธุรกิจ หากธุรกิจของคุณต้องการจัดการข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงหรือต้องการปรับแต่งโมดูล ฟังก์ชัน หรือฟีเจอร์การทำงาน ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านของธุรกิจ On-premise ERP นับว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
  • Cloud-Based ERP ​หรือ Cloud ERP​

​Cloud-Based ERP ซึ่งในที่นี่เราจะของเรียกสั้น ๆ ว่า Cloud ERP เป็นระบบที่ให้บริการในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด องค์กรสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านเว็บบราวเซอร์หรือแอปพลิเคชันเพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าองค์กรทั่วโลกเริ่มหันมาใช้ Cloud ERP กันมากขึ้น คาดว่าจะเติบโตถึง 13.6% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 เนื่องจากยังมีความยืดหยุ่น ลดค่าค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ และติดตั้งได้เร็วกว่า ERP แบบ On-premise
  • Hybrid ERP​

​Hybrid ERP เป็นการผสมผสานระหว่าง On-premise ERP และ Cloud ERP โดยองค์กรสามารถเลือกใช้บางส่วนของระบบบนคลาวด์ และบางส่วนบนเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร เช่น On-premise สำหรับฟังก์ชันขององค์กร และ Cloud ERP สำหรับสาขาต่าง ๆ

โมดูลการทำงานในระบบ ERP ส่วนประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนและเชื่อมโยงธุรกิจ

​ระบบ ERP มีโมดูลหรือชุดแอปพลิเคชันการทำงานให้เลือกมากมายตามความต้องการของธุรกิจ เราจึงขอยกตัวอย่างโมดูลที่เป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจทุกขนาด ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยแต่ละฝ่ายแต่ละแผนกในการทำงานได้อย่างไร

  • ระบบงานขาย (Sales) และ CRM

​ระบบ ERP สามารถเข้ามาจัดการกระบวนการขายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่สามารถเข้ามาช่วยจัดการ Sales Pipeline และการตลาดได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการเอกสารสำคัญ อย่างการออกใบเสนอราคาและใบสั่งขาย การจัดการลูกค้าเป้าหมาย การติดตามโอกาส การคาดการณ์การขาย การจัดการแคมเปญ และยังสามารถจัดการทีมขายด้วยการตั้งเป้าหมายของทีมหรือตาม Sale แต่ละคน ทำให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการการขายให้ตอบโจทย์กับลูกค้าและความต้องการของธุรกิจมากยิ่งขึ้น

  • ระบบจัดซื้อ (Purchase)

​ฝ่ายจัดซื้อนับว่าเป็นอีกส่วนสำคัญของบริษัท โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading Business) ที่จะช่วยควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบ ERP สามารถเข้ามาช่วยฝ่ายจัดซื้อจัดการเอกสารทั้งการทำใบขอซื้อ ใบสอบราคา และใบสั่งซื้อได้ในระบบเดียว และยังช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและไม่จำเป็นของฝ่ายจัดซื้อลง เช่น การตั้ง Safety Stock เพื่อให้ระบบช่วยเปิดใบสั่งซื้อให้อัตโนมัติเมื่อถึงจุดสั่งซื้อ ทำให้ประหยัดเวลาและเพิ่ม Productivity ในการทำงานมากยิ่งขึ้น

  • ระบบคลังสินค้า (Inventory)

​ระบบ ERP สามารถเข้ามาช่วยบริหารจัดการได้ทั้งคลังสินค้าและสต็อกสินค้า ทั้งการจัดการ Safety Stock ของสินค้าที่ต้องการ, การจัดการ Lot/Serial Number, การแปลงหน่วยสินค้า และรองรับการจัดการ Location ภายในคลังสินค้า รวมถึงรายงานต่าง ๆ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการสต็อกทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รายงานสต็อกสินค้า ที่ช่วยให้คาดการณ์สต็อกได้อย่างแม่นยำ ทำให้ธุรกิจมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา

  • ระบบบัญชีและการเงิน (Accounting)

​ระบบบัญชีและการเงินเป็นส่วนที่สำคัญของธุรกิจทุกขนาด โดยระบบ ERP จะเข้ามาช่วยบันทึกทุกรายรับและรายจ่ายขององค์กรให้อยู่ในระบบเดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการบัญชี และสามารถเรียกดูรายงานได้อย่างครบถ้วน และยังสามารถนำเอกสารยื่นส่งกับสรรพากรได้อย่างสะดวกอีกด้วย

ทรานฟอร์มธุรกิจมาใช้ระบบ ERP เมื่อไรดี?

​ผู้ประกอบการหลายรายอาจตั้งคำถามอยู่เสมอว่าเมื่อไรที่ธุรกิจของคุณควรเปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการต้องกลับมาทบทวนว่า แล้วสิ่งที่ธุรกิจคุณต้องการอยู่ตอนนี้คืออะไร? หากสัญญาณต่อไปนี้คือที่คุณกำลังเผชิญ ก็อาจจะเป็นคำตอบแล้วว่าตอนนี้องค์กรของคุณกำลังต้องการระบบ ERP

  • เมื่อ.. โปรแกรมเดิมไม่ครอบคลุมการทำงา​น และไม่รองรับการเติบโต

โครงสร้างของธุรกิจมักประกอบไปด้วยหลายฝ่ายหรือหลายแผนก ทำให้ต้องมีหลายโปรแกรมเพื่อสอดรับกับการทำงาน เช่น โปรแกรมทางด้านบัญชี โปรแกรมดูแลจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) โปรแกรมออกใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ โปรแกรมจัดการสต็อก

​การใช้งานหลากหลายโปรแกรมมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถรองรับการเติบโต และเชื่อมโยงการทำงานของทุกฝ่ายหรือทุกแผนกเข้าด้วยกันได้ นำมาซึ่งปัญหาใหม่ ทั้งการไม่เชื่อมโยงกันของข้อมูล การทำงานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างแผนก อาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูล และยังต้องเสียเวลาไปกับการจัดการงานที่ไม่เกิดประโยชน์

  • เมื่อ.. ข้อมูลกระจัดกระจาย ไม่เชื่อมโยงกัน

ถ้าทีมงานของคุณยังทำงานแบบ Manual บันทึกข้อมูลโดยทีมงานแต่ละคนหรือแต่ละฝ่าย ซึ่งอาจมีการบันทึกไว้คนละที่หรือคนละไฟล์ แน่นอนว่าทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลกระจัดกระจายไม่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้ติดตามการทำงานของทีมงานแต่ละคนได้ยาก และที่แย่ที่สุดคือข้อมูลเหล่านั้นพร้อมที่จะหายไปได้ทุกเมื่อ

  • เมื่อ.. กระบวนการทำงานของทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ

​​เมื่อไม่มีระบบที่เข้ามาช่วยจัดการให้เกิดกระบวนการทำงานที่ดี จึงทำให้การกระบวนการทำงานภายในองค์กรไร้ประสิทธิภาพตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทำให้พนักงานไม่ให้ความใส่ใจกับผลลัพธ์เป้าหมายของทีมหรือองค์กร เช่น

    • ​ขาดการสื่อสารกันระหว่างทีมหรือแผนก
    • ขาดความชัดเจนในกระบวนการทำงาน ไม่รู้ว่าเนื้องานนี้ต้องติดต่อใครหรือควรขอความช่วยเหลือจากใครเมื่อเกิดปัญหา
    • ผู้บริการ หัวหน้าแผนก ไม่สามารถเรียกดูรายงานได้แบบเรียลไทม์ ต้องรอขอ้มูลจากแต่ละแผนก

  • เมื่อ.. ลูกค้าไม่พึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ

​​ธุรกิจอาจได้รับ Feedback จากลูกค้าเกี่ยวกับความไม่พึงพอใจในสินค้าหรือบริการ เนื่องจากการบริการที่ล่าช้า การส่งต่อข้อมูลเกิดความผิดพลาด การที่ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้ทันท่วงที หรือการที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอเพื่อนำมาตัดสินใจในการให้บริการแก่ลูกค้า

ประโยชน์ของ 'ระบบ ERP' ต่อธุรกิจ กุญแจสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

ประโยชน์ของระบบ ERP

  • เพิ่ม Productivity การทำงานให้กับธุรกิจของคุณ (Greater Productivity)​

​ระบบ ERP สามารถช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยฟังก์ชันการทำงานที่มีความ Automate มากขึ้น จึงช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อนลง ทำให้ประหยัดเวลาและข้อผิดพลาด เพิ่ม Productivity ในการทำงานมากยิ่งขึ้น
  • มีข้อมูลและรายงานที่เข้าใจง่ายและเรียลไทม์ (Easy and Real-Time Reporting)​

​ในยุคที่การตัดสินล้วนต้องใช้ Data ระบบ ERP สามารถเข้ามาช่วยในการตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเรียกดูรายงานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนกได้อย่างละเอียดและเรียลไทม์ หรือจะดูภาพรวมของธุรกิจก็สามารถทำได้บนระบบเดียว
  • มีข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ (Increased Accuracy)​

​การรวมข้อมูลทั้งหมดไว้บนระบบเดียวจะช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) และทำให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งความปลอดภัยของข้อมูลที่สามารถกำหนดได้สิทธิ์ของผู้ที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อีกด้วย
  • เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกที่ดีขึ้น ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมขององค์กร (Better Interdepartmental Collaboration)​

​แม้ว่าระบบ ERP จะแบ่งเป็นโมดูลย่อย ๆ ออกเป็นแต่ละแผนก แต่ข้อมูลก็สามารถเชื่อมกันได้ ทำให้ทั้งพนักงานและผู้บริหารต่างเห็นภาพรวมของธุรกิจ ซึ่งง่ายต่อการวางแผนและการตัดสินใจ ลดข้อผิดพลาด และมองเห็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจมากยิ่งขึ้น
  • รองรับการเติบโตและขยายขนาด (Scalability and Integrations)​

​​​ERP ไม่เพียงแค่เข้ามาแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกัน การปรับปรุงข้อมูล และการสรุปข้อมูลหรือรายงาน แต่ยังมีความสามารถในแบบที่ระบบอื่นยังไม่สามารถทำได้ คือ พร้อมรองรับการเติบโตสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพราะระบบสามารถพัฒนาฟังก์ชันหรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ต่อไปได้ ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องกังวล

5 ขั้นตอนเตรียมตัวให้พร้อมก่อนนำ ‘ระบบ ERP’ มาใช้ในธุรกิจ

​การนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด มาดูกันว่า 5 ขั้นตอนเตรียมตัวให้พร้อมก่อนนำ ‘ระบบ ERP’ มาใช้ในธุรกิจ จะมีอะไรบ้าง

5 ขั้นตอนเตรียมตัวให้พร้อมก่อนนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจ

1. กำหนดจุดประสงค์ของการใช้ระบบ ERP​

​​​เริ่มต้นด้วยการเข้าใจจุดประสงค์หลักว่าทำไมธุรกิจของเราต้องการระบบ ERP เช่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, ลดต้นทุนการบริหารจัดการ, มองเห็นภาพรวมธุรกิจ, หรือใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยให้กระบวนการในขั้นตอนถัดไปเป็นไปอย่างมีทิศทางและง่ายต่อการดำเนินการ

2. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในแต่ละส่วนงาน​​​

​พูดคุยกับทีมงานในแต่ละแผนกเพื่อระบุปัญหาหรือความยากลำบากที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานปัจจุบัน เช่น การสื่อสารที่ไม่ต่อเนื่อง, ความซ้ำซ้อนของข้อมูล, หรือการจัดการที่ล่าช้า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถลิสต์ฟีเจอร์หรือฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาในแต่ละส่วนงานได้อย่างครบถ้วน

3. เลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจ​​​

​เมื่อรู้ถึงความต้องการและปัญหาที่ต้องการแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการค้นหาระบบ ERP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจของเรา ควรพิจารณาจากความเหมาะสมกับขนาดธุรกิจ, ประเภทธุรกิจ, ค่าใช้จ่าย, และความยืดหยุ่นของระบบในการรองรับการเติบโตในอนาคต การเลือกระบบที่ดีจะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าและลดความยุ่งยากในระยะยาว

4. วางแผนและเตรียมทีมงานให้พร้อม​​​

​การเตรียมทีมงานให้พร้อมก่อนเริ่มใช้งานระบบใหม่เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อดีและกระบวนการทำงานในระบบใหม่ พร้อมทั้งจัดทำแผนการเพื่อค่อย ๆ นำระบบมาใช้ในแต่ละแผนกอย่างเหมาะสม การมีทีมงานที่พร้อมจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น

5. จัดเตรียมข้อมูลสำหรับระบบใหม่​​​

​ก่อนย้ายข้อมูลเข้าสู่ระบบ ERP ใหม่ ควรตรวจสอบและจัดการข้อมูลเดิมให้ถูกต้องและครบถ้วน ลดความซ้ำซ้อนหรือข้อมูลที่ล้าสมัยลง เพื่อให้ข้อมูลที่นำเข้าไปมีความพร้อมสำหรับการใช้งาน การจัดการข้อมูลที่ดีจะช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความแนะนำ: 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ที่
5 ขั้นตอน เตรียมตัวให้พร้อมก่อนนำ 'ระบบ ERP' มาใช้ในธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

เลือก 'ระบบ ERP' อย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจ

​5 เช็กลิสต์สำคัญ ที่ต้องพิจารณาในการเลือก 'ระบบ ERP' ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

เลือกระบบ ERP อย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจ

 พิจารณาฟีเจอร์ให้ครอบคลุมกับการทำงานและความสามารถในการเติบโต​

​​​ธุรกิจต้องทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อนำมาพิจารณาฟังก์ชันและฟีเจอร์การทำงานให้เข้ามาแก้ปัญหาและปรับปรุงในส่วนที่ต้องการ รวมถึงแผนการเติบโตของธุรกิจในอนาคต เพื่อให้มั่นใจว่าระบบ ERP ที่นำมาใช้จะพร้อมรองรับกับการเติบโตของธุรกิจ

 พิจารณาการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบ​

​​​เทคโนโลยีรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าการมีระบบ ERP ที่ทันสมัยย่อมได้เปรียบกว่าคู่แข่งในทุกด้าน การเลือกผู้ให้บริการที่มีการพัฒนาเวอร์ชันและฟังก์ชันการใช้งานอยู่เสมอ จะทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ที่พร้อมรองรับกับทุกการเปลี่ยนแปลง

 ใช้งานง่าย มี UX/UI ที่ตอบโจทย์กับยุคสมัย​

​​​ปัจจุบัน User Interface ของระบบ ERP ถูกพัฒนามาให้มีการใช้งานง่ายมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้ระบบได้ด้วยตนเอง ซึ่งลดระยะเวลาในการทำความเข้าใจระบบ ทำให้พร้อมใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 ชื่อเสียงของผู้ให้บริการและบริการให้ความช่วยเหลือ​

​​​ผู้ใช้บริการระบบ ERP มีให้เลือกมากมายในตลาด นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ย่อมมีผลโดยตรงกับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญอย่าลืมพิจารณาถึงการอบรมการใช้งาน และความพร้อมในการ Support

 ต้นทุนในการพัฒนาระบบ ERP​

​​​เพราะการเลือกใช้ซอฟต์แวร์นับว่าเป็นลงทุนพัฒนาธุรกิจในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงการลงทุนอย่างรอบด้าน รวมถึงประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และการประหยัดต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นหรือการเติบโตของรายได้ที่สามารถทำได้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP
บทความแนะนำ: 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ที่
5 เช็กลิสต์ เลือก 'ระบบ ERP' อย่างไร ให้เหมาะกับธุรกิจ

ระบบ ERP ที่ได้รับความนิยมสำหรับธุรกิจ SMEs

  • SAP Business One

SAP Business One
​​ระบบ ERP สัญชาติเยอรมัน ที่ได้รับความนิยมสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง โดยสามารถจัดการการทำงานได้ตั้งแต่กบัญชีและการเงิน การจัดซื้อ สินค้าคงคลัง การขาย และความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) แม้ SAP B1 จะเป็นระบบ ERP ที่มีมาตรฐานและความเสถียร แต่ในอีกด้านเมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริการ ERP รายอื่น ๆ SAP B1 ใช้เวลาอย่างอย่างมากในการเรียนรู้ระบบ และมีราคาแพง ทำให้ SAP B1 อาจเป็นแบรนด์ที่เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางหรือธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังขยายขนาดอย่างรวดเร็ว และมีกำลังพอที่จะลงทุนกับค่าใช้จ่ายของระบบ

  • Odoo

Odoo ERP

​​Odoo ระบบ ERP สัญชาติเบลเยี่ยม โดดเด่นจากโมเดลการทำงานแบบโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) แม้จะมีแพ็กเกจที่สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรีเป็นทางเลือกสำหรับธรุกิจขนาดเล็ก แต่ Odoo เหมาะที่สุดสำหรับธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่รวมแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทางธุรกิจไว้บนระบบเดียว มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานให้ครอบคลุมสำหรับองค์กร โดย Odoo มีการทำงานร่วมกับ Odoo Partner ทั่วโลก ในพัฒนาระบบตามความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจ เช่น Roots ผู้นำด้านการพัฒนา ERP
ระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งเป็น Odoo Official Partner Thailand ที่มีการพัฒนาระบบให้องค์กรชั้นนำของไทยมากกว่า 10 ปี

  • Microsoft Dynamics 365 Business Central

 Microsoft Dynamics 365 Business Central ​​
​เป็นซอฟต์แวร์ ERP ชั้นนำสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง เหมาะสำหรับบริษัทที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Microsoft เพราะสามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ของ Microsoft
ได้อย่างราบรื่น เช่น Power Apps และ Power BI และสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นสำหรับผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับ Interface ของ Microsoft โดยมีแอปพลิเคชันที่หลากหลายเพื่อช่วยจัดการธุรกิจและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ แม้ว่าจะมี Interface ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้และใช้งานง่าย แต่หากธุรกิจมีกระบวนการและข้อกำหนดที่ซับซ้อน ก็อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาและเรียนรู้ระบบ

  • BEECY

BEECY ERP
BEECY แพลตฟอร์มบริหารจัดการธุรกิจสำหรับองค์กรยุคใหม่ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อธุรกิจ SMEs ไทยโดยเฉพาะ โดย BEECY เป็นระบบ ERP ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญ โดยมี Odoo เป็นเฟรมเวิร์กในการพัฒนา สามารถพร้อมใช้งานได้ทันทีโดยไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่มักมีราคาสูง เหมาะสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading Business) และธุรกิจบริการทุกขนาด มาพร้อมโมดูลในการทำงานที่ครอบคลุมธุรกิจ ทั้งระบบงานขาย ระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า และระบบบัญชีและการเงิน สามารถเชื่อมโยงการทำงานได้ทุกแผนก และใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและมือถือ ตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการไทยยุคใหม่ที่ต้องการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาธุรกิจ

สรุป

​แม้ว่าระบบ ERP จะมีความสามารถในการจัดการงานที่ครอบคลุม แต่ก็ไม่ใช่ว่าระบบ ERP จากผู้ให้บริการทุกเจ้าจะตอบโจทย์การทำงานของทุกฝ่ายในองค์กร เพราะอาจต้องคำนึงถึงการปรับระบบเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานของทีม โดยระบบ ERP ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น SAP, Microsoft Dynamics, Odoo ตามที่เราได้ยกตัวอย่างข้างต้น ต่างก็มีจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไป ​ในขณะที่ระบบ ERP บางประเภทก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบ e-Commerce, ระบบการขายหน้าร้าน (Point of Sales)

​​อย่างไรก็ตาม การนำระบบ ERP ไปปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กร โดยไม่ใช้ตาม Standard ที่ระบบมีมาให้นั้น อาจต้องใช้เวลาและต้องอาศัยความร่วมมือของทีมงาน จึงต้องทำความเข้าใจระบบ ERP แต่ละเจ้าให้ดีก่อนตัดสินใจที่จะนำไปใช้กับองค์กร

​​โดยสรุป ระบบ ERP เป็นซอฟต์แวร์อีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีมาก ที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการงานขององค์กร ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรและการทำงานร่วมกันภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนด้วยกระบวนการที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น (Streamline Workflow) นำไปสู่การลดต้นทุนบางอย่างลงไปได้ รวมไปถึงการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้แม่นยำและสอดคล้องกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น


เปิดกล่องความสำเร็จของธุรกิจ
เริ่มต้นนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร

ระบบ ERP คืออะไร [อัปเดต 2025] หาคำตอบ พร้อมสู่การเติบโตของธุรกิจ
Kittiya Thamma 25 มกราคม ค.ศ. 2025
แชร์โพสต์นี้
แท็ก
Loading...