5 เทรนด์เทคโนโลยี ERP ปี 2568 จะเปลี่ยนโลกธุรกิจอย่างไร?

AI, IoT และ Cloud : เทรนด์ ERP แห่งอนาคตที่ธุรกิจต้องไม่พลาด

ในปี 2568 เรากำลังจะได้เห็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเทคโนโลยี ตั้งแต่บทบาทของ AI ที่ก้าวล้ำกว่าเดิม ไปจนถึงโลกของ Metaverse ที่กำลังเข้าใกล้ความจริง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและวางกลยุทธ์ของธุรกิจในด้านต่าง ๆ รวมถึงระบบบริการจัดการธุรกิจอย่าง ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับทั้งความ ‘ท้าทาย’ และ ‘โอกาส’ ที่ธุรกิจกำลังเผชิญ

​ระบบ ERP มีส่วนสำคัญในการจัดการธุรกิจในหลายด้าน เช่น ช่วยลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ ลดค่าใช้จ่าย ทำให้ขั้นตอนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลสำคัญได้อย่างเป็นระบบ เทคโนโลยีของระบบ ERP ที่ช่วยให้การดำเนินงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพ จะยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงผู้ใช้งานและผู้บริโภค

​ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ให้บริการ ERP หรือผู้ใช้งานระบบ ERP ที่ต้องการความได้เปรียบในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมในการปรับตัว เทรนด์เทคโนโลยี ERP ต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง และนี่คือ ..

5 เทรนด์เทคโนโลยี ERP ในปี 2568

1. ระบบ ERP ที่ตอบโจทย์เฉพาะอุตสาหกรรม

​ระบบ ERP จะก้าวหน้ามากกว่าเดิม ด้วยการออกแบบและพัฒนาฟังก์ชันมาเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ใช่ระบบ ERP สำเร็จรูปที่มีฟังก์ชันมาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจอีกต่อไป เช่น

ERP สำหรับธุรกิจด้านสุขภาพ

เช่น โรงพยาบาล จะมีการใช้ระบบ ERP เพื่อจัดการข้อมูลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมาย และปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้

ERP สำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ใช้ระบบ ERP เพื่อควบคุมสินค้าคงคลัง การติดตามวัตถุดิบ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร

ERP สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

ใช้ระบบ ERP เพื่อบริหารการผลิต จัดหาวัตถุดิบ และบริหารการจัดส่งสินค้า

ERP สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป

ใช้ระบบ ERP เพื่อจัดการเอกสารใบเสนอ ควบคุมระดับสินค้าคงคลัง บริหารการจัดซื้อ รวมถึงจัดการด้านบัญชีและการเงิน

​แม้ว่า ERP จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเดียวในการเชื่อมโยงทุกด้านขององค์กร แต่ในแต่ละอุตสาหกรรมต่างก็มีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ในธุรกิจที่มีการเลือกใช้ระบบ ERP ที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจของตนเอง ก็จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานและส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร โดยปัจจุบันผู้พัฒนาระบบ ERP หลายราย ต่างมุ่งเน้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบ ERP ให้เหมาะกับธุรกิจ แต่ละอุตสาหกรรม

2. การใช้งานร่วมกับ Internet of Things (IoT)


​Internet of Things (IoT) กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจ ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการที่เชื่อมต่อข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดอย่าง 5G และ 6G

ในอุตสาหกรรมขนส่ง มีการใช้ IoT ในการติดตามสินค้า ปรับเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสม และตรวจสอบประสิทธิภาพของยานพาหนะ ในทำนองเดียวกัน ธุรกิจที่ต้องมีการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management: SCM) อย่าง อุตสาหกรรมการผลิต, ธุรกิจค้าปลีก, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การใช้งานระบบ ERP ร่วมกับเทคโนโลยี IoT จะกลายเป็นเทรนด์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การขับเคลื่อน ERP ด้วย AI


​Grand View Research คาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2566 ถึง 2573 ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) จะมีอัตราการเติบโตถึง 36.6% ซึ่งหมายความในปี 2568 AI จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้ฉลาดยิ่งขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้น และจะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับระบบ ERP มากขึ้น โดยจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหลายด้าน เช่น

  • การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากที่ถูกรวบรวมไว้ในระบบ ERP มักต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ การใช้ AI ร่วมกับระบบ ERP จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • การคาดการณ์แนวโน้ม เช่น การคาดการณ์ความต้องการของตลาด
  • การทำงานอัตโนมัติ เช่น การออกใบเสนอราคาอัตโนมัติ ลดการทำงานซ้ำๆ ของมนุษย์ด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ

4. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)


ในยุคที่ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ การปกป้องข้อมูลขององค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งระบบ ERP ที่ทำหน้าเป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลสำคัญและธุรกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ ทั้งข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลลูกค้า สต็อกสินค้า ระบบ ERP ที่มีการนำ AI เข้ามาช่วยตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลขององค์กรจะไม่ถูกคุกคาม ปลอมแปลง หรือรั่วไหล

ข้อดีของ Cybersecurity เข้ากับกับระบบ ERP

1. ปกป้องข้อมูลสำคัญ

ระบบ ERP เก็บข้อมูลที่สำคัญและละเอียดอ่อน การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ จะทำให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้

2. รักษาความปลอดภัยของการทำธุรกรรม

ระบบ ERP มักใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การป้องกันภัยคุกคามช่วยให้แน่ใจว่าการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะไม่ถูกแทรกแซงหรือปลอมแปลง

3. ป้องกันการเข้าถึงจากภายนอก

การโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การโจมตีแบบ DDoS หรือการแฮ็ก อาจพยายามเข้าถึงระบบ ERP การเสริมสร้างระบบป้องกันช่วยให้ระบบ ERP ไม่ถูกบุกรุกจากการโจมตีเหล่านี้

4. การป้องกันการสูญหายของข้อมูล

การโจมตีไซเบอร์อาจทำให้ข้อมูลในระบบ ERP หายไป การสำรองข้อมูลและการตั้งระบบป้องกันจะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลที่สำคัญได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

5. ระบบ ERP บนคลาวด์ (Cloud ERP)


​Cloud ERP เป็นโซลูชันที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้งานระบบ ERP ผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องลงทุนในเซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ซับซ้อน ธุรกิจสามารถเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ

​โดย Cloud ERP กำลังเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน และสร้างเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าองค์กรทั่วโลกเริ่มหันมาใช้ Cloud ERP กันมากขึ้น เนื่องจากยังมีความยืดหยุ่น และติดตั้งได้เร็วกว่า ERP แบบ On-premise จากการคาดการณ์ของ Fortune Business Insights คาดว่ามูลค่าของตลาด Cloud ERP จะเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2567 เป็น 1 แสน หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2575 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 15.5%

​นอกจากนี้ Cloud ERP ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ เพราะผู้ให้บริการจะดูแลทุกอย่างอย่างครบวงจร ตั้งแต่ความปลอดภัย การสำรองข้อมูล ไปจนถึงการอัปเดตซอฟต์แวร์ และยังช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Footprint) เนื่องจากมีการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างผู้ใช้งานหลายราย ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ข้อดีของ Cloud ERP

1.  ยืดหยุ่นและพร้อมปรับตัว

Cloud ERP มีความสามารถในการปรับขนาดได้ตามความต้องการ และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ธุรกิจตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

2. ลดต้นทุนการลงทุนในระบบ

Cloud ERP เป็นระบบที่ให้บริการในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์หรือการบำรุงรักษา IT แต่สามารถใช้บริการแบบสมัครสมาชิก และยังได้รับประโยชน์จากการที่ผู้ให้บริการอัปเดตระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืน

การใช้ Cloud ERP ช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในแต่ละองค์กร เนื่องจากมีการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน

4. มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ

ผู้ให้บริการ Cloud ERP มักมีมาตรการความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กร

สรุป

​เทรนด์เทคโนโลยีของระบบ ERP ในปี 2568 จะไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือจัดการทรัพยากร แต่ยังเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับตัวตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ ERP ได้อย่างเต็มที่และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็จะสามารถเพื่อก้าวเข้าสู่ปี 2568 ได้อย่างมั่นใจและมั่นคง

อ้างอิง

​Enterprise Resource Planning Technology Trends As We Move Toward 2025

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2025 ได้ที่

Gartner อัปเดต! 10 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2025 ที่จะเปลี่ยนเกมธุรกิจคุณ

5 เทรนด์เทคโนโลยี ERP ปี 2568 จะเปลี่ยนโลกธุรกิจอย่างไร?
Kittiya Thamma 5 ธันวาคม ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
Loading...