Odoo ระบบ ERP แนวหน้าของโลก
กับชุดแอปฯ ที่รวมธุรกิจทั้งหมดไว้ในแพลตฟอร์มเดียว
Odoo กำลังเป็นระบบ ERP ที่น่าจับตามองในไทย เมื่อธุรกิจน้อยใหญ่หันมาทรานฟอร์มตัวเองด้วยการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยี แต่นั่นเพียงพอแล้วจริงหรือ? เมื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็น Core Business หลายธุรกิจเริ่มปรับปรุงกระบวนการภายใน ด้วยการนำซอฟต์แวร์เข้ามาพัฒนา Operation การทำงานให้มีความไหลลื่นมากขึ้น
ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ Odoo กลายเป็นคำตอบของหลายอุตสาหกรรม ด้วยชุดแอปฯ ที่รวมการทำงานของแผนกต่าง ๆ ไว้ด้วยกันบนแพลตฟอร์มเดียว แค่ลองจิตนาการว่าทีมงานของเราไม่ต้องสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมหลาย ๆ อีกต่อไป ผู้บริหาร หัวหน้าแผนกสามารถเรียกดูรายงานแบบเรียลไทม์ Odoo ก็อาจเป็นซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ให้การทำงานผสานกันอย่างสมบูรณ์แบบภายใต้แพลตฟอร์มเดียว
Table of Contents : เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ตรงนี้เลย
Odoo คืออะไร?
Odoo เป็นระบบ ERP ที่รวมแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทางธุรกิจ ไว้บนแพลตฟอร์มเดียวมากกว่า 30 แอปฯ ตั้งแต่ ระบบงานขาย, CRM, eCommerce, ระบบบัญชี, ระบบคลังสินค้า และอีกมากมาย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในโมเดลการทำงานแบบโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) สามารถนำไปใช้หรือพัฒนาต่อยอดได้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนนวัตกรรมโดยสมาชิก Odoo Community ที่ยังคงมีการใช้งานอยู่กว่า 1,500 ราย แต่ทั้งนี้ Odoo ไม่ได้มีเพียงโอเพ่นซอร์ส แต่ยังมีเวอร์ชัน Enterprise ที่สามารถ Subscription แบบรายเดือนหรือรายปีได้
อะไรที่ทำให้ Odoo แตกต่าง?
การรวมแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทางธุรกิจไว้บนแพลตฟอร์มเดียวนี้เองที่ทำให้ Odoo แตกต่างจากคู่แข่งหลายราย จากเดิมที่ธุรกิจต้องใช้โปรแกรมการทำงานหลายโปรแกรมที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โปรแกรมบัญชี, โปรแกรม CRM โปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้า หรือไปจนกระทั่งโปรแกรมที่ใช้สำหรับสื่อสารพูดคุย
แต่ Odoo สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ด้วยการเข้ามาอุดช่องโหว่ของการสื่อสาร เชื่อมโยงการทำงานให้อยู่บน Workflow เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น บัญชี CRM คลังสินค้า ก็สามารถทำงานร่วมกันได้บนแอปฯ เดียว ทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่คล่องตัว ลดความซ้ำซ้อนและผิดพลาดของข้อมูลลง และมีความยืนหยุ่นมากพอที่จะรองรับการเติบโตของธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตั้งคำถามว่าฟีเจอร์การทำงานเหล่านี้ทำให้ Odoo ตอบโจทย์ความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของลูกค้าได้จริง ๆ หรือไม่ แม้ว่าการเป็นศูนย์รวมของการทำงานและสามารถปรับแต่งได้ จะทำให้ Odoo ก้าวทันเทคโนโลยี แต่ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการหรืองบประมาณของธุรกิจ แอปฯ ที่มีให้เลือกมากมายสร้างความยืดหยุ่น แต่ก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนเมื่อต้องเริ่มต้นใช้งาน
ข้อดี - ข้อเสียของ Odoo: ดาบสองคมของชุดแอปฯ ที่ครอบคลุม
ข้อดี
อย่างที่เราได้กล่าวไปว่า Odoo เป็นแพลตฟอร์มที่รวมศูนย์ฟังก์ชันทางธุรกิจต่าง ๆ แบบครบวงจร ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า การมีฟังก์ชันที่ครอบคลุมการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจสามารถเลือกเครื่องมือที่ต้องการได้โดยไม่ต้องใช้หลายโปรแกรมและยังทำค่าใช้จ่ายลดลง อีกทั้งรูปแบบการพัฒนาแบบโอเพ่นซอร์สไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดต้นทุนได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความยืดหยุ่น สามารถเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจได้
ข้อเสีย
ในขณะเดียวกันการที่ Odoo รวมชุดแอปฯ ที่ครอบคลุมไว้จะเป็นเป็นข้อดี แต่ก็เป็นดาบสองคมที่อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจที่ไม่ได้ต้องการฟังก์ชันที่ซับซ้อนหรือไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไอที แม้ว่าใน Odoo เวอร์ชัน Enterprise จะมี Support ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึง e-Learning ให้เรียนรู้ แต่ข้อจำกัดด้านภาษาและการเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานจริงของธุรกิจในแต่ละประเทศ ก็อาจส่งผลให้มีข้อจำกัด ไม่สามารถแนะนำการทำงานที่เกี่ยวข้องหรือเฉพาะเจาะจงไปกับเนื้องานนั้น ๆ ได้ เช่น ระบบบัญชีของ Odoo ก็เรียกว่าไม่สามารถรองรับการทำงานของระบบบัญชีในประเทศไทยได้ทั้งหมด ด้วยข้อจำกัดในการพัฒนา ทำให้ Odoo เป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดน้อยลงสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ไม่มีการสนับสนุนด้านไอที
Odoo Community VS. Odoo Enterprise เลือกแบบไหนเข้ามาใช้ในธุรกิจ
Odoo มี 2
เวอร์ชันด้วยกัน นั่นก็คือ Odoo Community และ Odoo
Enterprise ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในการด้านการพัฒนาและการ
Support มาดูไปพร้อม ๆ
กันว่าเวอร์ชันไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
Odoo Community
Odoo Community เป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชันโอเพ่นซอร์สที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี มีฟีเจอร์หลักและฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย และทำให้ Developers สามารถร่วมพัฒนาฟีเจอร์การใช้งานต่าง ๆ โดยใช้ภาษา Python ซึ่งเป็นที่นิยมในวงการนักพัฒนา ทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและสตาร์ตอัปที่มีงบประมาณจำกัด
จุดเด่นของ Odoo Community
- ไม่เสียค่าใช้จ่าย Subscription รายเดือนหรือรายปี
- สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ง่าย
- มี Community นักพัฒนาที่คอยอัปเดตฟีเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
Odoo Community เหมาะกับใคร
- นักศึกษาที่ต้องการใช้งานทดลองฟรี
- ผู้ที่ต้องการฝึกการเขียน Coding หรือ Dev ฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ไม่มีใน Enterprise
- ต้องการโหลดเก็บใช้งาน Offline บน Device สำหรับใช้ส่วนตัว
Odoo Enterprise
ในทางกลับกัน Odoo Enterprise เป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชันที่ต้องชำระเงิน ซึ่งมีฟีเจอร์การทำงานที่ Odoo พัฒนาให้ตอบโจทย์กับธุรกิจมากขึ้น มาพร้อม UX/UI ที่สร้าง Experience ที่ดีให้กับผู้ใช้งานทั้งบนเดสก์ท็อปและมือถือ เหมาะสำหรับธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการฟังก์ชันการทำงานขั้นสูงและการ Support ด้านเทคนิคจากทีม Odoo นอกจากนี้ยังมีการอัปเดตเวอร์ชันเป็นประจำทุกปี ทำให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ ๆ และการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นประจำอีกด้วย
จุดเด่นของ Odoo Enterprise
- มีการอัปเดตเวอร์ชันทุกปีทำให้ผู้ใช้งานได้ฟีเจอร์ใหม่อยู่ตลอด
- มีฟีเจอร์ที่มากกว่าเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ
เช่น การใช้งานบาร์โค้ด, การใช้งานผ่าน Mobile App
- Scalability & Flexibility
- บริการใช้งานบน Odoo SaaS หรือ Odoo.sh Cloud service
- สามารถเลือกบริการให้ผู้เชี่ยวชาญจาก
Odoo ช่วยขึ้นระบบให้ และบริการ Free Support 24/5
Odoo Enterprise เหมาะกับใคร
- ต้องการขึ้นระบบและพร้อมใช้งานอย่างรวดเร็ว
(QuickStart Setup)
- ต้องการเลือกใช้งานระบบภาษาไทย
- ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญจากทาง
Odoo ช่วยขึ้นระบบให้ หรือต้องการ Support โดยตรงจาก Odoo
- คำนึงถึงความปลอดภัยเรื่อง
Cloud Security
- ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน
Maintenance ให้ทาง Odoo ดูแล Cloud ให้
โมดูลยอดนิยมของ Odoo
Odoo มีโมดูลการทำงานที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ เราจะพามาดูกันว่าโมดูลการทำงานหลักของ Odoo ที่หลายธุรกิจมักเลือกใช้งานนั้นมีอะไรบ้าง
ระบบจัดการสินค้าคงคลัง
(Inventory Management)
สามารถช่วยติดตามสต็อกสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์ จัดการการเคลื่อนไหวสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า
การเติมสต็อกสินค้าอัตโนมัติ และยังสามารถจัดการสินค้าได้หลายคลัง ช่วยให้การจัดการสต็อกและคลังสินค้าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถคาดการณ์สต็อกได้อย่างแม่นยำ
ระบบงานขายและ CRM
(Sales and CRM)
สามารถจัดการไปป์ไลน์การขายได้ตั้งแต่การสร้างลูกค้าเป้าหมายไปจนถึงการปิดการขาย
สามารถติดตามลูกค้า ออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การปรับกลยุทธ์การกำหนดราคา รวมถึงการใช้ส่วนลดและคูปอง และทำให้กระบวนการขายมีความเป็น
Automate มากขึ้น เช่น การแปลงใบเสนอราคาเป็นใบสั่งขายด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว
ระบบบัญชีและการเงิน
(Finance and Accounting)
สามารถจัดการเอกสารทางบัญชีได้ตั้งแต่การออกใบแจ้งหนี้และการชำระเงิน ไปจนถึงการกระทบยอดธนาคารและการรายงานทางการเงิน แต่สำหรับในประเทศไทย Odoo ยังไม่สามารถตอบโจทย์กับงานทางบัญชีของธุรกิจได้ทั้งหมด เช่น การออกเอกสาร ภ.ง.ด. 3/53, ภ.พ. 30, ภ.พ. 36, ภ.ง.ด. 54, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 1
อีคอมเมิร์ซ
(E-Commerce)
โมดูลอีคอมเมิร์ซของ Odoo สามารถสร้างและจัดการร้านค้าออนไลน์ได้ รองรับ Payment Gateway และสามารถติดตามคำสั่งซื้อและการจัดส่ง
มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและปรับแต่งเทมเพลตได้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งออนไลน์ที่ราบรื่นให้กับลูกค้า
นี่เป็นเพียงตัวอย่างโมดูลการทำงานเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น Odoo ยังมีฟังก์ชันการใช้งานอีกมากมาย ที่สามารถเลือกใช้งานให้ตรงกับความต้องการ ทั้งด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการตลาด และด้านการผลิต
แพ็กเกจและราคาของ Odoo
One App Free
แผน One App Free ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงแอปเดียวเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ เรียกว่าสามารถใช้งานได้จริงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ใช้รายบุคคลที่สนใจใช้งานฟังก์ชันเฉพาะส่วน นับว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัด
Standard
แผน Standard ราคาอยู่ที่ $13.50 ต่อผู้ใช้ต่อเดือน (หากเรียกเก็บเงินแบบรายปี) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกแอปฯ แผนนี้เหมาะสำหรับบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ต้องการโซลูชันที่ครอบคลุมโดยไม่ต้องการปรับแต่งหรือไม่จำเป็นต้องจัดการหลายบริษัท (Multi-Company)
Custom
แผน Custom ราคาอยู่ที่ $20.40 ต่อผู้ใช้ต่อเดือน (หากเรียกเก็บเงินแบบรายปี) ซึ่งนอกจากจะรวมทุกอย่างของแผน Standard ไว้ และยังสามารถโฮสต์บน Odoo.sh หรือ On-premise ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถบริหารจัดการหลายบริษัท เข้าถึง Odoo Studio และเชื่อมต่อ API ภายนอก เหมาะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทที่มีความต้องการเฉพาะในการปรับแต่ง
BEECY ERP ทางเลือกเพื่อ SMEs ไทย กับการใช้ Odoo เป็นเฟรมเวิร์กในการพัฒนา
แม้ว่า Odoo จะมีข้อโดดเด่นที่มีฟังก์ชันในการใช้งานที่หลากหลาย แต่สำหรับธุรกิจ SMEs ในไทยเอง
นับว่ายังไม่สามารถตอบโจทย์ที่จะทำให้ใช้งานได้อย่างคล่องตัว หากธุรกิจต้องการฟังก์ชันที่สอดรับกับ Operation
ของการทำงาน
แม้จะมีทางเลือกที่สามารถ Implement ระบบขึ้นมาได้
แต่ก็อาจไม่คุ้มเสีย เพราะต้องลงทุนและลงแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับพนักงาน
การพัฒนาระบบให้เข้ากับธุรกิจและการทำงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 6-7
หลัก
ทำให้ธุรกิจ SMEs เสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีไปอย่างน่าเสียดายด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรและเงินทุน
ทีมผู้พัฒนาระบบ ERP ระดับแนวหน้าของประเทศไทย อย่าง บริษัท ทรีนีตี้ รูทส์ จำกัด หรือที่รู้จักกันในนาม Roots พาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของ Odoo ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบให้กับทั้งภาครัฐและเอกชนในไทยมากกว่า 10 จึงพัฒนา BEECY แพลตฟอร์มบริหารจัดการธุรกิจสำหรับองค์กรยุคใหม่ ครอบคุลมทุกกระบวนการทำงานสำหรับธุรกิจ SMEs ของไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มระดับโลกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว
จุดเด่นของ BEECY ERP
- มีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงการทำงานทุกแผนก ทั้งระบบงานขาย ระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า และระบบบัญชีและการเงิน
- ระบบบัญชีรองรับการยื่นเอกสารให้กับสรรพากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งรายงานภาษีซื้อ-ขาย, เอกสารหัก ณ ที่จ่าย, ภ.พ. 30, ภ.พ. 36, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54 รวมถึง งบการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งบทดลอง, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงฐานะการเงิน พร้อมฟีเจอร์ในการปิดงบ ซึ่งเป็นจุดที่ Odoo ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้
- ราคาแพ็กเกจเริ่มต้นเพียง 490 บาท/ผู้ใช้งาน/เดือน ทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
- มีทีม Support คอยดูแลตลอดการใช้งาน ทั้ง Line, โทรศัพท์ หรือสามารถส่งข้อความขอความช่วยเหลือได้ผ่านตัวระบบได้ทันที
- มีการอัปเดตฟังก์ชันและฟีเจอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทำให้ผู้ใช้งานได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสามารถใช้งานได้ทุกฟังก์ชันโดยไม่มีข้อจำกัด
- มี UX/UI ที่ตอบโจทย์กับการใช้งาน สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ Cloud
- ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อธุรกิจของคนไทยโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบขึ้นมาเอง และยังสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที
- สามารถบริหารจัดการหลายบริษัทได้ (Multi-Company)
BEECY ERP เหมาะกับใคร
- ธุรกิจซื้อมาขายไปที่ต้องการนำระบบ ERP เข้ามาช่วยบริหารจัดการงานแบบครบวงจร
- ผู้ประกอบการที่ต้องการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
- ธุรกิจที่ต้องมีการบริหารจัดการสต็อกและคลังสินค้า ที่ต้องการรายงานและข้อมูลแบบเรียลไทม์
- ธุรกิจ SMEs ที่ต้องการใช้ระบบ ERP โดยไม่ต้องการ Implement ระบบ
ทำความรู้จัก BEECY เพิ่มเติม
- BEECY คืออะไร? แตกต่างจาก ระบบ ERP หรือ ระบบบัญชีอื่น ๆ อย่างไร
- ไขข้อสงสัย ระบบ ERP จาก BEECY แตกต่างกับ Odoo ERP อย่างไร?
- 5 โมดูล จาก BEECY ERP ที่จะทำให้การจัดการธุรกิจเป็นเรื่องง่าย
สรุป
เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง การนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเป็น Core Business จึงเป็นสิ่งสำคัญ Odoo นับว่าเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นสำหรับธุรกิจที่ต้องการใช้ระบบ
ERP ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ การปรับปรุง Operation
การทำงาน และการลดค่าใช้จ่ายในการใช้โปรแกรมที่ไม่จำเป็นลง
และสำหรับธุรกิจของไทยก็ยังมี BEECY เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ SMEs ที่มาในราคาที่เข้าถึงได้ เข้าใจธุรกิจคนไทย และพร้อมเริ่มต้นใช้งานได้ทันที แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความสำเร็จของธุรกิจล้วนไม่ได้เกิดจากความโชคดี แต่มาจากการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ธุรกิจจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความต้องการของตนเองอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะนำระบบเข้ามาใช้งาน เพื่อการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน