Incoterms ทั้ง 11 ประเภท ที่นักธุรกิจระหว่างประเทศควรทำความเข้าใจ

ทำความเข้าใจ Incoterms ข้อกำหนดเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เงื่อนไขการจัดส่ง และความสำคัญต่อธุรกิจของคุณ

อยากพาธุรกิจเติบโตไปต่างประเทศ ต้องรู้จัก Incoterms ทั้ง 11 ประเภท

Incoterms คืออะไร?

​Incoterms ย่อมาจาก International Commercial Terms เป็นข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งถูกกำหนดโดยสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce :ICC) ในปี พ.ศ.2479 (ค.ศ.1936) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ค้าและบริษัทขนส่งสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ โดยมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์และภาวะการค้าของโลกมาตลอดทุก ๆ 10 ปี จะมีการแก้ไขปรับปรุงที่สำคัญหนึ่งครั้ง ปัจจุบันยังคงมี 11 เทอม

​โดย Incoterms จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายในการขนส่งสินค้า รวมถึงความรับผิดชอบในการจัดหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจสอบสินค้า การนำส่ง การสินค้า และการรับสินค้า ข้อกำหนดเหล่านี้กำหนดความรับผิดชอบ ความเสี่ยง และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการส่งมอบสินค้าในธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ด้วยการทำความเข้าใจและใช้งาน Incoterms อย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะราบรื่น ลดความเสี่ยง และรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้

ความสำคัญของ Incoterms ในการค้าระหว่างประเทศ

​ในโลกของการค้าระหว่างประเทศ ที่มีการจัดส่งสินค้าข้ามพรมแดน การมีข้อตกลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดชอบรหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นสิ่งสำคัญ Incoterms จึงมีบทบาทสำคัญในการให้ความชัดเจนนี้ โดยจะมีจัดเตรียมกรอบการทำงานทั่วไปสำหรับการเจรจาสัญญา การพิจารณาการโอนความเสี่ยง และการปันส่วนต้นทุนระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรม

วิธีเลือก Incoterms ที่เหมาะสมกับธุรกิจ

​การเลือก Incoterm ที่เหมาะสมจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เช่น ลักษณะของสินค้า วิธีการขนส่ง ปลายทางการรับสินค้า และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจภาระผูกพันและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Incoterm แต่ละรายการ เพื่อทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลครบถ้วน 

​ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักับ Incoterms ทั้ง 11 ประเภท เพื่อให้คุณเข้าใจและสามารถเลือก Incoterm ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์การค้าของคุณ

Incoterms ทั้ง 11 ประเภท ที่นักธุรกิจระหว่างประเทศควรทำความเข้าใจ

Incoterms ทั้ง 11 ประเภท

1. EXW (Ex works) 
Delivery Point: ผู้ขายวางสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุ โดยไม่ต้องขนสินค้าขึ้นบนพาหนะที่มารับ 
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายเมื่อได้รับมอบสินค้า 
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว 
Customs Clearance Point: ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก พิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า (ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการส่งออก)
2. FCA (Free Carrier)
​Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะของผู้รับขนที่ผู้ซื้อจัดมารับ ณ สถานที่ที่ระบุ
​Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost ​Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
​Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า (ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการผ่านแดน และพิธีการนำเข้า)
3. FAS (Free Alongside Ship)
​Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้ที่ข้างเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ 
​​Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว 
​​Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว 
​​​Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า
4. FOB (Free on Board)
​Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
​Risk Point:
ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost Point:
ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว
​Customs Clearance Point:
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า
5. CPT (Carriage Paid To)
​Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายเมื่อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด ผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Risk Point:
ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งทู้ขายว่าจ้าง
​Cost Point:
ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
​Customs Clearance Point:
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า
6. CIP (Carriage and insurance Paid To)
​Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด ผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Risk Point:
ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost Point: 
ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัยต่อความเสี่ยงและชำระค่าประกันภัยให้ผู้ซื้อจากจุดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งที่ผู้ขายว่าจ้าง ไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Customs Clearance Point:
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า
7. CFR (Cost and Freight)
​Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อผู้ขายไปวางไว้บนเรือ ณ ท่าเรืออส่งออกที่ระบุและรับสินค้าจากผู้รับขน ณ ท่าเรือปลายทางที่ระบุ
​Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนสินค้าได้ส่งมอบแล้ว ผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายอื่นจากจุดส่งมอบไปยังจุดหมายปลายทางที่ตกลงกันไว้
​Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า

8. CIF (Cost Insurance and Freight)
​Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางอยู่บนเรือ ณ ท่าเรือที่ระบุ และรับสินค้าจากผู้รับขน ณ ท่าเรือปลายทางที่กำหนด
​Risk Point:
ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนสินค้าถูกส่งมอบแล้ว
​​​​ผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายอื่นจากจุดส่งมอบไปยังจุด ​หมายปลายทางที่ตกลงกันไว้
​นอกจากนี้ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัยและชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทางใน Clauses (C) ของ Institute Cargo Clauses
​Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า

9. DAP (Delivered at Place DDP)  
​Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางระบุ
​Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
​Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
​Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า
10. DPU (Delivered at Place Unloaded)
​Delivery Point: ผู้ขายต้องขนถ่ายสินค้าลงบนพาหนะขนส่งที่มาถึง และส่งมอบสินค้าโดยวางไว้ให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ ที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Risk Point:
ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลง ณ สถานที่ที่ปลายทางระบุ
​Cost Point:
ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขน
​Customs Clearance Point:
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า
10. DDP (Delivered Duty Paid)
​Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ จุดที่ตกลงกันที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Risk Point:
ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
​Cost Point:
ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้า และการขนส่งสินค้าจนสินค้าถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
​Customs Clearance Point:
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก พิธีการผ่านแดน และพิธีการขาเข้า

Incoterms ทั้ง 11 ประเภท ที่นักธุรกิจระหว่างประเทศควรทำความเข้าใจ

Incoterms เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ด้วยการใช้ Incoterm ที่ถูกต้อง คุณจะสามารถเข้าใจได้ถึงความรับผิดชอบที่ชัดเจน ลดความเสี่ยง และส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

Incoterms ทั้ง 11 ประเภท ที่นักธุรกิจระหว่างประเทศควรทำความเข้าใจ
BEECY Team 21 มิถุนายน ค.ศ. 2023
แชร์โพสต์นี้
Loading...