ERP ราคาเท่าไร? เปิดทุกค่าใช้จ่ายที่คุณต้องรู้ ก่อนตัดสินใจลงทุนเพื่ออนาคตธุรกิจ
ในปี 2566 ตลาดระบบ ERP ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2577 ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ยังคงเป็นระบบจัดการธุรกิจที่สำคัญของธุรกิจทั่วโลก
ด้วยเหตุผลที่ ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถรวมกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่การเงิน การผลิต การขาย การจัดซื้อ ไปจนถึงการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในระบบ ERP นับว่าเป็นการตัดสินใจสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย ความเหมาะสมกับธุรกิจ และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงตัวเลขการลงทุนในระบบ ERP เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจว่าลงทุนแค่ไหนถึงจะคุ้มค่าเพื่ออนาคตธุรกิจคุณ
Table of Contents : เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ตรงนี้เลย
เปิดราคาและค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบ ERP
คำถามที่มักพบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นที่ “อยากใช้ระบบ ERP ต้องใช้เงินเท่าไร”
แม้ว่าจะไม่สามารถระบุตัวเลขที่แน่ชัดของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ ERP (ERP Implementation) เพราะราคาย่อมแตกต่างกันไปตามผู้บริการแต่ละรายโดยขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ที่อาจเริ่มได้ตั้งแต่เลขหลักหมื่นสำหรับองค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงหลักล้านสำหรับองค์กรขนาดใหญ่
แต่ Forbes Advisor คาดการณ์ว่า ต้นทุนของระบบ ERP อาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 9,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้งานต่อเดือน หรือประมาณ 3 แสนบาท ซึ่งเป็นตัวเลขยังไม่รวมค่าธรรมเนียมต่อผู้ใช้หรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการดูแลรักษาระบบ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนเหล่านี้ได้แก่อะไรบ้าง เราจะพาคุณดูไปพร้อม ๆ กัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบ ERP
1. ขนาดของธุรกิจ และความซับซ้อนของกระบวนการทำงาน
แน่นอนว่าขนาดธุรกิจมีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ ERP
เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่มักต้องการฟังก์ชันการทำงานที่ซับซ้อนและหลากหลายกว่าเช่น มีหลายแผนก หลายสาขา
มีการดำเนินงานระหว่างประเทศ หรือความต้องการเฉพาะด้านของบางอุตสาหกรรม ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหรือปรับแต่งระบบสูงขึ้นนั่นเอง
2. จำนวนผู้ใช้งาน
จำนวนผู้ใช้งานมีผลโดยตรงต่อค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เนื่องจากผู้ให้บริการ ERP มักคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนผู้ใช้งาน (User License) นอกจากนี้ จำนวนผู้ใช้งานที่มากขึ้นยังส่งผลให้ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพิ่มขึ้น เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเครือข่ายที่รองรับการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก
3.
ประเภทของระบบ ERP
ระบบ ERP แต่ละประเภท มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กรแตกต่างกันไป และแน่นอนว่าส่งผลต่อราคาของระบบ ERP โดยตรงด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าระบบ ERP ทั้ง 3 ประเภทมีอะไรบ้าง และมีข้อดี—ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร
On-PremiseERP
On-Premise ERP เป็นระบบที่ติดตั้งและใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร
องค์กรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และรับผิดชอบการบำรุงรักษาระบบเอง โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามขนาดของธุรกิจ
หากธุรกิจของคุณต้องการจัดการข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงหรือต้องการปรับแต่งโมดูล
ฟังก์ชัน หรือฟีเจอร์การทำงาน ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านของธุรกิจ On-premise
ERP นับว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
Cloud-Based ERP
Cloud-Based ERP ซึ่งในที่นี่เราจะของเรียกสั้น
ๆ ว่า Cloud ERP เป็นระบบที่ให้บริการในรูปแบบ Software
as a Service (SaaS) โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด
องค์กรสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านเว็บบราวเซอร์หรือแอปพลิเคชันเพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าองค์กรทั่วโลกเริ่มหันมาใช้ Cloud ERP กันมากขึ้น คาดว่าจะเติบโตถึง 13.6% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 เนื่องจากยังมีความยืดหยุ่น ลดค่าค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ
และติดตั้งได้เร็วกว่า ERP แบบ On-premise
Hybrid ERP
Hybrid ERP เป็นการผสมผสานระหว่าง
On-premise ERP และ Cloud ERP โดยองค์กรสามารถเลือกใช้บางส่วนของระบบบนคลาวด์
และบางส่วนบนเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร เช่น On-premise สำหรับฟังก์ชันขององค์กร และ Cloud ERP สำหรับสาขาต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่าย เช่น ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าบำรุงรักษาและอัปเกรดระบบ ค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายข้อมูลจากระบบเดิม ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันแบบเจาะลึกในหัวข้อถัดไป
ค่าใช้จ่ายหลักในการลงทุน ERP
จากทั้ง 4 ปัจจัย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อราคาของระบบ ERP แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและใช้งาน และค่าสนับสนุนและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละส่วนจะมีรายละเอียดอย่างไรเราจะขอชวนดูไปพร้อมกัน
Licensing (ค่าลิขสิทธิ์)
ค่าลิขสิทธิ์เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่สำคัญในการลงทุนระบบ ERP โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก
1. ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อผู้ใช้หรือต่อโมดูล
- ค่าลิขสิทธิ์ต่อผู้ใช้: ผู้ให้บริการ ERP ส่วนใหญ่คิดค่าลิขสิทธิ์ตามจำนวนผู้ใช้งานในองค์กร ซึ่งอาจเป็นแผนรายเดือนหรือรายปี ราคาอาจแตกต่างกันไปตามจำนวนของผู้ใช้งาน
- ค่าลิขสิทธิ์ต่อโมดูล: บางผู้ให้บริการอาจคิดค่าลิขสิทธิ์ตามจำนวนโมดูลที่องค์กรเลือกใช้ เช่น โมดูลบัญชี และการเงิน ทรัพยากรบุคคล หรือการผลิต
2. ค่าลิขสิทธิ์สำหรับฟีเจอร์เพิ่มเติม
นอกเหนือจากฟังก์ชันพื้นฐาน ผู้ให้บริการอาจมีฟีเจอร์พิเศษที่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ฟังก์ชันเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมนั้น ๆ ดังนั้น องค์กรควรประเมินความต้องการใช้งานจริงและคาดการณ์การเติบโตในอนาคต โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ที่เกินความจำเป็น
Implementation Costs (ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและใช้งาน)
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและใช้งานเป็นส่วนสำคัญที่มักถูกมองข้าม
แต่มีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่กินสัดส่วนมากที่สุด
สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน คือ
1. Data Migration (การโอนย้ายข้อมูล)
เป็นกระบวนการสำคัญในการย้ายข้อมูลจากระบบเดิมสู่ระบบ ERP ใหม่ โดยค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล
ความซับซ้อนของโครงสร้างข้อมูล และความแตกต่างระหว่างระบบเก่าและใหม่ และอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดข้อมูล
(Data Cleansing) เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ย้ายมามีคุณภาพและความถูกต้อง
2. Training (การฝึกอบรม)
การฝึกอบรมพนักงานในการใช้ระบบ ERP เป็นส่วนที่สำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะการที่องค์กรจะขึ้นระบบ ERP ได้ประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้แน่ใจว่า พนักงานทุกระดับจะสามารถใช้งานระบบ ERP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนในการฝึกอบรมพนักงานจึงเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการช่วยลดปัญหาในการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าจะตามมาด้วยค่าใช้จ่าย ทั้งค่าวิทยากร ค่าเอกสารประกอบการอบรม รวมถึงค่าสูญเสียเวลาทำงานของพนักงานระหว่างการอบรม
3. Business - Solutions Mapping (การวางแผนและปรับกระบวนการทางธุรกิจให้เข้ากับระบบ)
เป็นขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์และปรับกระบวนการทำงานขององค์กรให้สอดคล้องกับระบบ ERP ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรหรือกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การลงทุนในขั้นตอนนี้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการนำระบบ ERP มาใช้และเพิ่มความสำเร็จในการขึ้นระบบ ERP
4. ค่าที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อาจเพิ่มขึ้นมาในองค์กรที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน IT โดยเฉพาะ ซึ่งการได้รับคำแนะนำและช่วยเหลือตลอดกระบวนการติดตั้งและใช้งานระบบ ERP จากที่ปรึกษา ย่อมมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบ ERP ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของที่ปรึกษา รวมถึงระยะเวลาและขอบเขตของโครงการ
5. ค่าฮาร์ดแวร์ (สำหรับระบบ On-Premise)
สำหรับองค์กรที่เลือกใช้ระบบ ERP แบบ On-Premise จะต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่าย ค่าใช้จ่ายนี้อาจสูงในช่วงแรก แต่อาจพิจารณาถึงความคุ้มค่าในระยะยาว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอัพเกรดฮาร์ดแวร์ในอนาคตด้วย
Ongoing Support and Maintenance (ค่าสนับสนุนและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง)
มากันที่ค่าใช้จ่ายในส่วนสุดท้าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาวที่องค์กรต้องวางแผนรองรับ
ประกอบด้วย
1. Customer Support (การสนับสนุนลูกค้า)
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครอบคลุมบริการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานเมื่อเกิดปัญหาหรือมีข้อสงสัยในการใช้งานระบบ อาจรวมถึงบริการสายด่วน (Hotline) การสนับสนุนทางอีเมล หรือระบบติดตามปัญหา (Ticketing System) โดยผู้ให้บริการ ERP อาจมีค่าบริการแตกต่างกันตามระดับการสนับสนุนและเวลาตอบสนอง เช่น การสนับสนุน 24/7 หรือเฉพาะในเวลาทำการ
2. System Updates (การอัปเดตระบบ)
เพื่อให้ฟังก์ชันหรือฟีเจอร์การทำงาน รองรับการทำงานที่อาจเปลี่ยนแปลงไป การปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือแก้ไขข้อบกพร่อง นอกจากต้องใช้เวลา ยังตามมาด้วยค่าใช้จ่ายในการอัปเดตระบบอีกด้วย
3. System maintenance (การบำรุงรักษาระบบ)
เป็นการดูแลรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ อาจรวมถึงการตรวจสอบและปรับแต่งประสิทธิภาพระบบ การสำรองข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย โดยค่าใช้จ่ายอาจคิดเป็นรายเดือนหรือรายปี ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของระบบ
4. ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาและการปรับแต่งเพิ่มเติม
เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อองค์กรต้องการปรับแต่งระบบเพิ่มเติมหลังจากการติดตั้งเสร็จสิ้น อาจรวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า หรือการปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น องค์กรควรวางแผนงบประมาณสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ด้วยเช่นกัน
การเข้าใจและวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้อย่างรอบคอบ จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารงบประมาณในการลงทุนระบบ ERP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดในอนาคต นอกจากนี้ การพิจารณาถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนในระบบ ERP จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรในระยะยาว
วิธีการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน
ROI (Return on Investment)
ROI เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน โดยคำนวณจากสูตร
ROI
= (ผลประโยชน์ที่ได้รับ - ต้นทุนการลงทุน) / ต้นทุนการลงทุน x 100%
ตัวอย่างการคำนวณ ROI สำหรับการลงทุนระบบ ERP
บริษัท A ลงทุนในระบบ ERP มูลค่า 1,000,000 บาท และคาดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 300,000 บาทต่อปี เป็นเวลา 5 ปี
ผลประโยชน์ที่ได้รับ = 300,000 x 5 = 1,500,000 บาท ต้นทุนการลงทุน = 1,000,000 บาท
ROI = (1,500,000 - 1,000,000) / 1,000,000 x 100% = 50%
นั่นหมายความว่า การลงทุนนี้ให้ผลตอบแทน 50% ในระยะเวลา 5 ปี
TCO (Total Cost of Ownership)
TCO เป็นการประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดอายุการใช้งานของระบบ ERP โดยรวมทั้งค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม โดยคำนวณจากสูตรอย่างง่าย
TCO
= ค่าลิขสิทธิ์ + ค่าติดตั้งและใช้งาน + (ค่าสนับสนุนและบำรุงรักษารายปี x จำนวนปีที่ใช้งาน)
ตัวอย่างการคำนวณ
TCO
บริษัท B ต้องการใช้ระบบ ERP เป็นเวลา 5 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้:
- ค่าลิขสิทธิ์: 500,000 บาท
- ค่าติดตั้งและใช้งาน: 1,500,000 บาท
- ค่าสนับสนุนและบำรุงรักษารายปี: 200,000 บาท
TCO = 500,000 + 1,500,000 + (200,000 x 5) = 3,000,000 บาท
ดังนั้น TCO ของระบบ ERP นี้คือ 3,000,000 บาท สำหรับระยะเวลา 5 ปี
การวิเคราะห์ ROI และ TCO ร่วมกันช่วยให้องค์กรสามารถประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนได้อย่างรอบด้าน โดย ROI แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ในขณะที่ TCO ช่วยให้เห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดอายุการใช้งานระบบ
ทังนี้ การประเมินความคุ้มค่าของระบบ ERP ก็ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ตัวเลขทางการเงิน แต่ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ด้วย เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
BEECY ERP ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจ SMEs ทุกขนาด
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่า “แล้วธุรกิจจะทำอย่างไรให้ประหยัดต้นทุนในการลงทุนกับระบบ ERP”
ปัจจุบันองค์กรทั่วโลกต่างหันมาให้ความสนใจกับระบบคลาวด์มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า Cloud ERP ก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างที่เราได้กล่าวไปว่า เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ต้นทุนต่ำ เข้าถึงได้ง่าย และมีการอัปเดตอยู่เสมอ และนอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย ซึ่งทำให้ Cloud ERP เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาระบบ ERP ในราคาที่สมเหตุสมผล
สำหรับ BEECY ERP เป็น Cloud ERP ที่ให้บริการในรูปแบบ SaaS ที่ถูกออกแบบมาให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที
โดยจะช่วยให้องค์กรของคุณประหยัดต้นทุนใน 2 ส่วนหลักด้วยกัน
นั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและใช้งาน
และค่าสนับสนุนและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในการลงทุนกับระบบ ERP
โดย BEECY ERP มีฟีเจอร์และฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมความต้องการของธุรกิจทั้งระบบงานขาย ระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า และระบบบัญชีและการเงิน โดยมีแพ็กเกจการใช้งานให้เลือกทั้งแบบรายเดือนและแบบรายปี
- รายเดือน ราคา 790 บาท/ผู้ใช้งาน/เดือน
- รายปี ราคา 490 บาท/ผู้ใช้งาน/เดือน
และมาพร้อมบริการที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- Data Migration บริการโอนย้ายข้อมูลจากระบบเก่าไประบบ BEECY
- Onboarding & Training อบรมการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ และสัมมนาอัปเดตเทรนด์ธุรกิจ
- Support Team บริการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานระบบ
สามารถทดลองใช้งานได้ที่ BEECY ERP
สรุป
ERP ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ แต่เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน จากที่เราจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ค่าลิขสิทธิ์ แต่รวมถึงการเตรียมความพร้อมขององค์กร การฝึกอบรมพนักงาน และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือก On-premise, Cloud หรือ Hybrid ทุกการตัดสินใจล้วนมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องของตัวเลข แต่เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของธุรกิจคุณที่จะสร้างผลตอบแทนในระยะยาว การมองหาระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจแทนที่จะเป็นระบบที่ดีที่สุด จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างยั่งยืนในโลกที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
หยุดทุกความวุ่นวายในการบริหารจัดการธุรกิจ "Stop busy start BEECY"
ทดลองใช้ BEECY ERP ฟรี! ลงทะเบียนเลย