4 ข้อดีของการ 'ปิดงบการเงิน' พร้อมสรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566

เปิด 4 ข้อดีของการนำส่งงบการเงินที่เป็นมากกว่าสิ่งที่ต้องทำ แต่กลับเป็นภาพสะท้อนให้สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจ พร้อมสรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566 สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบบัญชีเริ่มต้น 1 ม.ค. – สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2566

เปิด 4 ข้อดีของการ 'ปิดงบการเงิน'
พร้อมสรุปไทม์ไลน์ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566

มาถึงฤดูกาลของการ ‘ปิดงบการเงิน’ อีกครั้ง ที่ไม่ว่า บริษัท จำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด ต่างก็ต้องให้ความสำคัญกับการนำส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร โดยการนำส่งงบการเงินไม่ได้เป็นเพียงแค่กระบวนการที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ยังเป็นภาพสะท้อนให้สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจ สร้างความโปร่งใส และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย


ปิดงบการเงิน


ในบทความนี้ เราจะกันไปดูถึงความหมายของการปิดงบการเงิน ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน พร้อมสรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566 สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบบัญชีเริ่มต้น 1 ม.ค. – สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2566


ก่อนอื่นเราจะขอพาไปรู้จักกับความหมายของการ ‘ปิดงบการเงิน’ กันก่อน

การปิดงบการเงิน คืออะไร?

การปิดงบการเงิน คือ ขั้นตอนสำคัญในการบริหารเงินของธุรกิจ ซึ่งทำให้มีข้อมูลทางการเงินที่สมบูรณ์และถูกต้อง สำหรับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรมีข้อกำหนดการยื่นงบการเงินตามกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

​ทำไมการปิดงบการเงินจึงสำคัญกับธุรกิจ?

การปิดงบไม่ได้เป็นเพียงแค่กระบวนการที่จำเป็นต้องทำทุกปีเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่สะท้อนภาพรวมของธุรกิจ ทำให้สามารถวิเคราะห์สถานะการเงิน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และการวางแผนธุรกิจในอนาคตได้

​ขั้นตอนและผู้มีหน้าที่นำส่งงบการเงินของธุรกิจ?

ขั้นตอนการปิดงบการเงิน มักมีความซับซ้อนและอาศัยความละเอียดรอบคอบ จึงต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ทางการเงินและบัญชีเข้ามาช่วยจัดการ ในบริษัททั่วไปมักดำเนินการโดยนักบัญชี ในขณะที่บางองค์กรที่ไม่ได้ทำบัญชีเอง ก็มักจะเลือกว่าจ้างสำนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีฟรีแลนซ์ เป็นผู้ดำเนินการปิดงบการเงิน


ซึ้งขั้นตอนปิดงบการเงินสำหรับธุรกิจที่ต้องดำเนินการปิดงบการเงินด้วยตนเองต้องเริ่มกระบวนการ ตั้งแต่รวบรวมเอกสารและข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ การบันทึกข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ การตรวจสอบรายการเดินบัญชี หรือ Bank Statement ของบริษัทให้ครบถ้วน การสร้างรายงานทางการเงิน ไปจนถึงการนำส่งงบการเงิน


ถ้าหากธุรกิจสามารถสรุปงบการเงินได้ทุกเดือนหรือทุกไตรมาส ก็จะยิ่งทำให้กระบวนการปิดงบการเงินทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และถ้าเอกสารเอกสารถูกจัดให้เป็นระเบียบก็จะยิ่งช่วยลดเวลาการทำงานลงไปได้อีก ในบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ อย่างการใช้ ระบบ ERP ก็จะยิ่งช่วยให้การจัดการบัญชีทำได้รวดเร็วและเป็นระเบียบมากขึ้น และสามารถปิดงบการเงินได้รวดเร็วขึ้นนั่นเอง


ในขณะที่ธุรกิจที่เลือกจ้างสำนักงานบัญชีก็เพียงนำส่งเอกสารบิลซื้อ บิลขาย ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ให้แก่สำนักงานบัญชีเพื่อลงบัญชี จากนั้นสำนักงานบัญชีก็จะจัดทำงบการเงินและนำส่งงบการเงินให้แก่กิจการ


โดยการที่จะเลือกปิดงบการเงินด้วยตนเองหรือว่าจ้างสำนักงานบัญชี ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท สำหรับธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ ที่มีนักบัญชีผู้เชี่ยวชาญและระบบที่รองรับการทำงานอยู่แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องว่าจ้างสำนักบัญชี ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กการเลือกว่าจ้างสำนักงานบัญชีก็อาจจะคุ้มทุนมากกว่า


ปิดงบการเงิน

​4 ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน

1. ได้ข้อมูลสถานะการเงินที่ถูกต้อง

การปิดงบการเงินช่วยให้บริษัทได้ข้อมูลสถานะการเงินที่ถูกต้องและครบถ้วน มองเห็นตัวเลขที่แท้จริงของผลประกอบการ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนธุรกิจและการตัดสินใจในอนาคต

2. มองเห็นภาพรวมผลการดำเนินงานของธุรกิจ

บริษัทสามารถรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่แท้จริงจากกิจกรรมทางธุรกิจในรอบบัญชีนั้น ๆ ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับรอบก่อนหน้าหรือเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ได้

3. ช่วยวางแผนบริหารสภาพคล่องทางการเงิน

ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท เช่น ปริมาณเงินสด, ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ทำให้สามารถนำมาใช้วางแผนในการจ่ายหนี้ ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และประเมินความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

4. นำมาพัฒนาปรับปรุงแนวทางธุรกิจ

ข้อมูลจากการปิดงบการเงินช่วยให้บริษัทสามารถนำมาพัฒนาหรือปรับแนวทางธุรกิจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้

​สรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566

สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบบัญชีเริ่มต้น 1 ม.ค. – สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2566 

6 วัน Deadline สำหรับยื่นภาษีและงบการเงินประจำปี 2566 จะมีวันไหนบ้างมาดูกันเลย


​สรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566

4 ข้อดีของการ 'ปิดงบการเงิน' พร้อมสรุป Timeline ยื่นภาษีและงบการเงินปี 2566
BEECY Team 31 มกราคม ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
Loading...