สรุปภาษี (Tax) ทั้ง 7 ประเภท ที่เจ้าของกิจการควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ
เมื่อพูดถึงเรื่อง 'ภาษี' ก็อาจทำให้หลาย ๆ คนถึงกับกุมขมับ โดยเฉพาะเหล่าผู้ประกอบหรือคนทำธุรกิจ แต่จะให้หลีกเลี่ยงก็คงไม่ได้ เพราะยังไงชีวิตเรานั้นก็ต้องเกี่ยวพันกับภาษี ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ 'ภาษี 7 ประเภท' ที่เจ้าของกิจการควรทำความเข้าใจ จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย
ภาษี 7 ประเภท
1. ภาษีเงินได้
1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)
เป็นภาษีที่นิติบุคคลหรือบริษัทต้องเสียตามกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้อง อัตราการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขึ้นอยู่กับระดับกำไรของแต่ละบริษัท
1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา (Personal Income Tax)
เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียตามรายได้ส่วนบุคคล รายได้ที่ต้องเสียภาษีรวมถึงเงินเดือน, ค่าจ้างงาน, รายได้จากการลงทุน และรายได้อื่น ๆ ที่ได้จากกิจกรรมต่าง ๆ อัตราการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขึ้นอยู่กับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามว่า เราจ่ายค่าอะไร จ่ายให้ใคร เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ในลักษณะเดียวกัน เราก็จะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน เนื่องจากลูกค้าเราก็ต้องหัก ณ ที่จ่ายเราเพื่อนำส่งภาษีให้กับสรรพากรเช่นเดียวกัน
4. ภาษีเฉพาะธุรกิจ
โดยทั่วไปธุรกิจส่วนมากอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเฉพาะธุรกิจ เราจะมาแนะนำธุรกิจที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้กัน กิจการที่จะต้องเสียภาษีเฉพาะธุรกิจ เป็นธุรกิจที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย
การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
4. การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน
แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด
ก็ตาม
5. ภาษีสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต เป็นการเสียภาษีที่มาจากการขายสินค้าหรือบริการบางประเภทที่มีผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังรวมถึงสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย และอาจส่งผลกระทบต่อสังคมในทางที่ไม่ดี เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ การเสียภาษีนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีบุคคลภายในภาครัฐได้รับรายได้เพิ่มเติมที่มาจากกลุ่มธุรกิจนี้และใช้ในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในทางที่ดี
ตัวอย่างของสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีนี้ ได้แก่ บุหรี่, เหล้า, ไพ่, น้ำมัน, น้ำมันเชื้อเพลิง, พรมขนสัตว์, รถยนต์, น้ำหอม, สนามกอล์ฟ หรือการให้บริการอาบอบนวด
6. ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า
อัตราภาษีป้าย
7. อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ เป็นการเสียภาษีที่แสดงในรูปแบบของแสตมป์ที่นำไปแปะ หรือใช้เป็นตั๋วรับรองการเสียภาษี ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระหรือได้ดำเนินการตามกฎหมาย
ลักษณะตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เช่น เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ ใบมอบอำนาจ หรือค้ำประกัน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าภาษีไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของเราเลย หากเรามีการประกอบกิจการและมีรายได้เกิดขึ้น เราก็ควรจัดทำภาษีให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะได้เป็นรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจของเราต่อไปในอนาคต ไม่ต้องมานั่งปวดหัวในภายหลัง และไม่ต้องกังวลว่าสรรพากรจะเรียกตรวจสอบขอดูข้อมูลต่าง ๆ ด้วย