ไขทุกข้อสงสัย ภ.ง.ด.1 คืออะไร? ใครบ้างที่ต้องจ่าย และมีวิธีการคำนวณอย่างไร?
ภ.ง.ด.1 คืออะไร?
ภ.ง.ด.1 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น โดยยื่นแบบเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) คือ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า เป็นต้น
ใครคือผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1
ผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายจะต้องเป็นนิติบุคคลที่เป็นผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) ให้แก่พนักงานเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร
การคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
ในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 จะต้องคำนวณตามอัตราก้าวหน้าตามตารางด้านล่างนี้
ตัวอย่างการคำนวณ
พนักงาน A ได้รับเงินเดือน 60,000 บาท ต่อเดือน โดยเริ่มทำงานวันที่ 01 มิ.ย. คาดว่าจะทำงานเต็มปี ดังนั้นพนักงาน A จะมีเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปีอยู่ที่ 60,000 x 6 = 360,000 บาท
พนักงาน A สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นนาย ก สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 100,000 บาท
สมมติว่าพนักงาน A มีค่าลดหย่อนเป็นประกันสังคมรวม 4,500 บาท (750 บาท ต่อเดือน ทำงานตั้งแต่ มิ.ย. ถึง ธ.ค. เป็นเวลา 6 เดือน)
ตามกฎหมายค่าลดหย่อนส่วนตัวที่สามารถนำมาหักได้คือ 60,000 บาท หลังจากนั้นต้องคำนวณเงินได้สุทธิของพนักงาน A ดังนี้
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
= 360,000 – 100,000 – 64,500 = 195,500 บาท
หลังจากนั้นให้นำเงินได้สุทธิมาเข้าตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้า ดังต่อไปนี้