สรุป! ความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบบ Perpetual และแบบ Periodic

เข้าใจความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทั้ง 2 วิธี นั่นคือ วิธีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) และวิธีแบบสิ้นงวด (Periodic) พร้อมสรุปการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทั้ง 2 วิธี ว่ามีการบันทึกอย่างไร

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
แบบ Perpetual
VS แบบ Periodic

​การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจที่ต้องมีการสต็อกสินค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิต หรือธุรกิจที่ให้บริการ เพื่อช่วยให้การจัดการสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างถูกต้อง ป้องกันสินค้าหมดหรือสินค้าคงคลังเกิน ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรของบริษัท และส่งผลต่อระบบบัญชีสินค้าคงเหลือที่ได้วางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ การเข้าใจวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ จึงเป็นเรื่องที่เหล่าผู้ประกอบการและนักบัญชีควรต้องให้ความใส่ใจ เพราะหากเลือกบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ชวนให้ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องปวดหัวอย่างแน่นอน

ใบบทความนี้จะพาไปเข้าใจความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทั้ง 2 วิธี นั่นคือ วิธีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) และ วิธีแบบสิ้นงวด (Periodic) พร้อมสรุป! การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทั้ง 2 วิธี ว่ามีการบันทึกอย่างไร

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Perpetual และ Periodic แตกต่างกันอย่างไร?

​การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ สามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ วิธีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) และ วิธีแบบสิ้นงวด (Periodic) ซึ่งแตกต่างกันในเรื่องของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ บัญชีซื้อ และบัญชีต้นทุนสินค้าขาย

สรุป! ความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบบ Perpetual และแบบ Periodic

แบบที่ 1

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)


​วิธีการนี้จะทำการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้ยอดสินค้าคงเหลือถูกอัปเดตเป็นปัจจุบันตลอดเวลาหรือเรียกดูได้แบบเรียลไทม์ โดยจะมีการบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ เช่น การซื้อสินค้า การส่งคืนสินค้า การขายสินค้า การรับคืนสินค้าไว้ในบัญชีสินค้าคงเหลือ และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่ขายไว้ในบัญชีต้นทุนขาย ทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการตรวจนับ ซึ่งสามารถกำหนดยอดขั้นต่ำและสูงไว้ล่วงหน้าได้ และสามารถดูยอดคงเหลือจากบัญชีสินค้าคงเหลือ ทำให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าทำให้สินค้าไม่ขาดมือหรือมีจำนวนสินค้ามากเกินความจำเป็น


​กล่าวโดยสรุปได้ว่า วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง จะรับรู้มูลค่าสินค้าทางบัญชี ณ ขณะทำการซื้อสินค้าทันที และต้นทุนขายจะถูกอัปเดตหรือคำนวณทันทีเมื่อมีการขายสินค้านั้นเกิดขึ้น

แบบที่ 2

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)


​วิธีการนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือในระหว่างงวด นั่นคือ จะทำการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนั่นเอง โดยเมื่อมีการซื้อสินค้าจะบันทึกที่บัญชีซื้อและไม่บันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี กิจการจึงต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือเพื่อนำมาคำนวณต้นทุนขาย และคำนวณหากำไร-ขาดทุน และสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปต้นทุนขายคำนวณจากผลต่างของสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย (เท่ากับสินค้าต้นงวดบวกซื้อ) กับสินค้าคงเหลือปลายงวด

​กล่าวโดยสรุปได้ว่า วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด จะคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือทางบัญชีและต้นทุนการขาย (COGS) ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือ ณ วันที่ทำการตรวจนับสินค้าเพื่อทำการปรับปรุงสินค้าคงเหลือทางบัญชี

วิธีการคำนวณต้นทุนขาย (COGS)


ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ - สินค้าคงเหลือปลายงวด

​ซื้อสุทธิ = ซื้อสินค้า + ค่าขนส่ง - ส่งคืน - ส่วนลดรับ

สรุปความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Perpetual และ Periodic แบบเข้าใจง่าย

สรุป! ความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Perpetual และ Periodic

สรุป! ความแตกต่างของการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบบ Perpetual และแบบ Periodic
BEECY Team 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
แท็ก
Loading...