'Easy E-Receipt 2567'
โอกาสเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการ
สมัครเข้าร่วมง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน
Easy E-Receipt คืออะไร?
ในฐานะผู้ประกอบการ จะเข้าร่วมโครงการนี้ได้อย่างไร
เริ่มต้นปี 2567 กับการกลับมาอีกครั้งของมาตรการลดหย่อนภาษีจากภาครัฐ ซึ่งในปีนี้มีชื่อว่า Easy E-Receipt โครงการที่จะทำให้การชอปปิ้งของทุกคนสามารถประหยัดภาษีขึ้นไปได้อีก
โครงการนี้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่จะช่วยกระตุ้นยอดขาย และลูกค้าก็ยังได้ลดหย่อนภาษี เรียกได้ว่า วินวินกันทั้งสองฝ่าย แต่อาจจะยังมีผู้ประกอบการหลายท่านที่ยังไม่ทราบว่า แล้วถ้าจะออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองสามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ได้ เราจะต้องดำเนินการอะไรบ้าง? วันนี้เราจะชวนมาพูดคุยในประเด็นนี้กัน
e-Tax Invoice คืออะไร?
ก่อนอื่นขอพาเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ (e-Tax Invoice) กันแบบกระชับฉับไวกันก่อน
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Time Stamp (by Email)
โดยความแตกต่างหลัก ๆ คือ e-Tax Invoice & e-Receipt จะต้องมี ลายเซ็นชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กำกับอยู่ในเอกสารที่เราส่งให้กับสรรพากร โดยลายเซ็นจะมีได้ต้องจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority - CA)
ส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp นั้น ไม่จำเป็นต้องมีลายเซ็นชื่อดิจิทัล แต่สรรพากรมีข้อกำหนดให้เฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่สามารถใช้วิธีนี้ได้ โดยจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
วิธีสมัคร e-Tax Invoice by Time Stamp (by Email)
สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก
ซึ่งในวันนี้หลัก ๆ เราจะมาพูดวิธีการสมัครในรูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp (by Email) กัน
ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ กรมสรรพากร แล้วไปที่ e-Tax Invoice by Time Stamp จากนั้นกด ‘ยื่นคำขออนุมัติ’
2. ดำเนินการตามขั้นตอนในหน้าเว็บไซต์ และระบุอีเมลที่จะใช้ในการส่งให้สรรพากร กรณีที่เป็นรูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp (by Email)
3. ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 15 วันทำการในการให้กรมสรรพากรตรวจสอบข้อมูล
เพียงเท่านี้ กิจการของเราก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องได้แล้ว เวลาที่เราจะส่งเอกสารใบกำกับภาษี ก็สามารถส่งผ่านอีเมลได้ทันที และอย่าลืม CC อีเมลของกรมสรรพากร
แต่เอกสารที่สามารถนำไปใช้ได้จะต้องอยู่ในรูปแบบ PDF/A-3 เท่านั้น ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ PDF ประเภทหนึ่งที่มีความปลอดภัย และทำให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ได้ดีกว่า
📃 รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากคู่มือของกรมสรรพากร
คู่มือผู้ประกอบการใน การจัดทำใบกำกับภาษี โดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp)