เลือก 'ระบบ ERP' ที่เหมาะสมกับธุรกิจ
ด้วย 5 เช็กลิสต์ ที่ควรพิจารณา
ในยุคที่เด็กเกิดใหม่ถือว่าเป็น “พลเมืองดิจิทัลโดยกำเนิด” ประโยคนี้กำลังแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้พัฒนามาถึงขีดสุด จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คน ไม่เว้นแม้แต่การดำเนินธุรกิจที่เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งการสื่อสาร การจัดการงานด้านต่าง ๆ ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล
แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด แต่ 'ระบบ ERP' (Enterprise Resource Planning) ก็ยังคงเป็นซอฟแวร์ที่หลายธุรกิจชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้งาน ด้วยข้อดีในการครอบคลุมการทำงานและมีความยืดหยุ่นในแบบที่ยังไม่มีซอฟแวร์ตัวไหนเข้ามาแทนที่ได้
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการระบบ ERP และโซลูชันต่าง ๆ จำนวนมากในท้องตลาด ดังนั้น การที่จะนำระบบ ERP เข้ามาใช้ในธุรกิจ จึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะถือเป็นการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จในการใช้งานของคุณและทีมงาน การเลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมเข้ากับธุรกิจจึงต้องประเมินตัวเลือกอย่างรอบคอบให้สอดคล้องกับความต้องขององค์กร และนี่คือ...
5 เช็กลิสต์สำคัญ ที่ต้องพิจารณา
ในการเลือก 'ระบบ ERP' ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
1. พิจารณาฟีเจอร์ให้ครอบคลุมกับการทำงานและความสามารถในการเติบโต
แน่นอนว่าฟีเจอร์การทำงานของระบบ ERP ต้องสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ สิ่งที่ควรต้องตรวจสอบให้แน่ใจก็คือ โมดูลและฟีเจอร์การทำงานที่ครอบคลุมทุกแง่มุมสำคัญ ตอบโจทย์กับการทำงานของทีม โดยอาจเปรียบเทียบความสามารถในการปรับแต่งฟีเจอร์ของ ‘ระบบ ERP แบบสำเร็จรูป’ กับ ‘ระบบ ERP ที่พัฒนาขึ้นใหม่’ ซึ่งทั้งสองรูปแบบต่างมีทั้งข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน
ระบบ ERP แบบสำเร็จรูป มักมีการพัฒนาการทำงานให้สอดคล้องกับธุรกิจอย่างรอบด้าน มีราคาที่สามารถจับต้องได้ และพร้อมใช้งานได้ทันที ในขณะเดียวกัน ระบบ ERP ที่พัฒนาขึ้นใหม่ อาจตอบโจทย์กับการทำงานของธุรกิจในระดับที่ลึกกว่า แต่ก็มักตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงระยะเวลาในการพัฒนาระบบที่นานขึ้นด้วย
และอีกข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ความสามารถในการขยายขนาดของระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถรองรับการเติบโตและรองรับการขยายธุรกิจของคุณในอนาคตได้
2. พิจารณาการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบ
ธุรกิจ SMEs ในยุคปัจจุบัน มีความหลากหลายและมีขั้นตอนการทำงานที่ยูนีคไปตามธุรกิจนั้น ๆ อย่าง ธุรกิจ e-Commerce ที่มีการขายบนแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Shoppe หรือ Lazada อาจต้องคำนึงถึงระบบ ERP ที่มี Integration เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพื่อให้การจัดการงานในธุรกิจและการจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น ป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ในขณะที่บางธุรกิจอาจไม่ต้องคำนึงถึงการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอื่นเพราะการใช้งานแต่ละโมดูลในระบบ ERP ก็อาจเพียงพอแล้วสำหรับขั้นตอนการทำงาน
3. ใช้งานง่าย มี UX/UI ที่ตอบโจทย์กับยุคสมัย
ปัจจุบัน UX/UI ของซอฟแวร์เป็นสิ่งที่นักพัฒนาจะมองข้ามไปไม่ได้ เพราะการมีระบบที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้และเข้าใจง่าย แสดงให้เห็นว่าผู้พัฒนานั้น ๆ ให้ความใส่ใจกับผู้ใช้เป็นสำคัญ รวมถึงการมีซอฟแวร์ที่ User-friendly ก็ช่วยลดระยะเวลาในการทำความเข้าใจระบบ ทำให้พร้อมใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. ชื่อเสียงของผู้ให้บริการและบริการให้ความช่วยเหลือ
ชื่อเสียงและประวัติของผู้ให้บริการระบบ ERP ถือเป็นอีกข้อพิจารณาที่สำคัญ ควรหาข้อมูลชื่อเสียงของผู้ขาย บทวิจารณ์ของลูกค้า และกรณีศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการ ERP เจ้านั้น ๆ จะมีขั้นตอนการส่งมอบระบบ ERP ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จได้จริง
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงบริการอื่น ๆ ของผู้ให้บริการ เช่น การมีทีมซัพพอร์ตคอยดูและช่วยเหลือ การอบรมการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงการอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง
5. ต้นทุนในการในการเป็นเจ้าของระบบ ERP
การใช้ระบบ ERP นับว่าเป็นการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเจ้าเล็กหรือเจ้าใหญ่ ก็ควรพิจาณาค่าใช้จ่ายในการลงทุนไปกับระบบ ERP อย่างรอบด้าน ทั้งต้นทุนของระบบ ต้นทุนการนำระบบไปใช้ ต้นทุนการบำรุงรักษาซอฟต์เเวร์ ระยะเวลาที่ต้องใช้ไปกับการอบรมและพัฒนาบุคลากร รวมถึงประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และการประหยัดต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นหรือการเติบโตของรายได้ที่สามารถทำได้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP
เมื่อพิจารณา 5 เช็กลิสต์อย่างรอบคอบ ธุรกิจต่าง ๆ ก็จะสามารถเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจตนเองได้แน่นอน
หากสนใจนำระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร ติดต่อ BEECY ได้เลย