การสร้างใบเสนอราคา (Quotation)

การสร้างใบเสนอราคา (Quotation)

​ในระบบ BEECY เจ้าของกิจการหรือหัวหน้าทีม สามารถสร้างใบเสนอราคา (Quotation) ได้ด้วยตนเองจากในระบบ

​ใบเสนอราคา หรือ Quotation คือ ข้อมูลเอกสารที่มีไว้ให้ทีมขาย สามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของบริษัทฯ นำเสนอไปยังลูกค้าที่สนใจสินค้าหรือบริการ โดยข้อมูลดังกล่าว ยังไม่ถือเป็นข้อมูลที่มีการจองสินค้ากับคลังสินค้า หรือเป็นข้อมูลที่มีการยืนยันจากลูกค้าใด

​ผู้ใช้งานสามารถสร้างใบเสนอราคา โดยเข้าไปที่เมนู การขาย > คำสั่ง > ใบเสนอราคา

หลังจาก​เข้ามาที่รายการใบเสนอราคาเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งาน สามารถกด “ใหม่” เพื่อเป็นการสร้างใบเสนอราคารายการใหม่ขึ้นมา โดยระบบจะให้ระบุข้อมูล ดังต่อไปนี้



1. ข้อมูลส่วนรายละเอียดหลักของรายการ (Quotation Header)

​ข้อมูลรายละเอียดหลักของรายการ Header เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าและเงื่อนไขหลักของใบเสนอราคา โดยสามารถกรอกข้อมูลได้ดังนี้

​1. ชื่อลูกค้า ผู้ใช้งานสามารถเลือกลูกค้าที่อยู่ในรายชื่อผู้ติดต่อ หรือสามารถสร้างข้อมูลลูกค้ารายใหม่ได้
​a. คู่ค้า คือ กรณีที่มีการลงข้อมูลของผู้ติดต่อของบริษัทนั้น สามารถใส่เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ระบบไม่ได้มีการบังคับให้ใส่ (Optional)
​b. ที่อยู่ในการออกใบกำกับภาษี กรณีที่ที่อยู่ในการออกใบกำกับภาษีของลูกค้าแตกต่างจากชื่อลูกค้า ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนได้
​c. ที่อยู่จัดส่ง กรณีที่สถานที่ส่งสินค้าของลูกค้าแตกต่างจากที่อยู่จากข้อมูลชื่อลูกค้า ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนได้

​​2. วันที่หมดอายุ คือ วันที่ที่ใบเสนอราคานี้ จะหมดอายุและไม่สามารถยืนยันได้

​3. ประเภทราคาขาย คือ กรณีที่มีบริษัทฯ มี าคาขายหลายรูปแบบ (Price-List) ข้อมูลนี้เป็นตัวที่บอกว่าจะใช้ราคาในการขายรูปแบบใด โดยข้อมูลหลักจะถูกสร้างมาพร้อมกับข้อมูลลูกค้า

​4. ประเภท คือ กรณีที่รูปแบบการขายมีหลายรูปแบบ เช่น การขายสินค้าปกติ การขายสินค้า Dropship เป็นต้น โดยข้อมูลหลักจะถูกสร้างมาพร้อมกับข้อมูลลูกค้า

​5. เงื่อนไขการชำระเงิน คือ เงื่อนไขเมื่อมีการยืนยันการสั่งซื้อจากทางลูกค้าแล้ว เงื่อนไขการชำระเงินในใบกำกับภาษีจะเป็นลักษณะใด โดยข้อมูลหลักจะถูกสร้างมาพร้อมกับข้อมูลลูกค้า

2. ข้อมูล Tab รายการสั่งสินค้า


​Tab รายการสั่งสินค้า คือ รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ ที่ผู้ใช้งานต้องการที่จะนำเสนอไปยังลูกค้าในเอกสารใบเสนอราคา (Quotation) โดยรายการสินค้านั้น สามารถระบุสินค้าหรือบริการได้ หลายรายการต่อ 1 ใบเสนอราคา โดยข้อมูลมีดังนี้

​1. ข้อมูลสินค้า
​a. สินค้า > ระบุชื่อสินค้าที่ต้องการ
​b. รายละเอียด > รายละเอียดและคำอธิบายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถ​กรอกรายละเอียดสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพิ่มเติมได้ สำหรับข้อมูลใบเสนอราคารายการนี้ ​โดยไม่ส่งผลกระทบไปยังข้อมูลสินค้าหลัก (Product Master) 
​c. จำนวน > ระบุจำนวนสินค้าที่ต้องการ
​d. หน่วย > ระบุหน่วยนับจำนวนของสินค้าที่ต้องการ
​e. ราคาต่อหน่วย > ระบุราคาต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการ
​f. ส่วนลด (%) > ระบุส่วนลดเป็นแบบเปอร์เซ็นต์
​g. ส่วนลด (มูลค่า) > ระบุส่วนลดเป็นแบบราคา
​h. ภาษี > ระบุภาษีสำหรับสินค้าตัวนั้นๆ 
​i. มูลค่า > ราคารวมของรายการนั้น ๆ 

​2. การเพิ่มรายการ
​a. เพิ่มรายการสินค้า คือ การเพิ่มสินค้าในใบเสนอราคานั้น ๆ
​b. เพิ่มรายการบันทึก คือ การเพิ่ม Section รายละเอียดในรายการของใบเสนอราคา ​โดยไม่มีผลต่อการคำนวนราคาใด ๆ
​c. เพิ่มโน้ต คือ การเพิ่มโน้ตในรายการของใบเสนอราคา โดยไม่มีผลต่อการคำนวนราคาใด ๆ

3. ข้อมูล Tab ข้อมูลอื่น ๆ

​Tab ข้อมูลอื่น ๆ นั้น ผู้ใช้งานสามารถใส่ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับใบเสนอราคานี้ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ หรือเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทีมงานอื่น ๆ ของบริษัท โดยข้อมูลอื่น ๆ สามารถแบ่งได้เป็น 4 หัวข้อหลัก ดังนี้

​1. ขาย
​a. พนักงานขาย คือ ข้อมูลของพนักงานขานที่ดูแลใบเสนอราคาและลูกค้ารายนั้น
​b. ทีมขาย คือ ทีมขายที่พนักงานงานนั้น ๆ สังกัดอยู่
​c. บริษัทฯ คือ ใบเสนอราคานี้เป็นของบริษัทฯ ในเครือของผู้ใช้งานบริษัท ใด กรณีใช้งานโครงสร้างหลายบริษัท (Multi-Company)
​d. อ้างอิงเอกสารลูกค้า คือ เลขที่เอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงจากฝั่งลูกค้า
​e. แท็ก คือ การจัดหมวดให้กับเอกสาร เพื่อการดูข้อมูลและวิเคราะห์ในอนาคต

​2. Invoice and Payment
a. ​ประเภทการแปลงภาษี คือ มาตรฐานทางภาษี ในกรณีที่บริษัทในมาตรฐานภาษีแตกต่างกันของแต่งละประเทศ กรณีที่ใช้งานโครงสร้างหลายบริษัท (Multi-Company) ในหลายประเทศ
​b. ศูนย์ต้นทุนและรายได้ คือ บัญชีวิเคราะห์ในการเก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ทางบัญชี

​3. การจัดส่ง
​a. คลังสินค้า คือ ระบุสินค้าในรายการใบเสนอราคานี้ จะถูกส่งออกจากคลังสินค้าที่ใด ทั้งนี้ จะควบคู่ไปกับการตรวจสอบจำนวนสินค้าในคลังสินค้าด้วย
​b. นโยบายการจัดส่ง ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ 2 ลักษณะ คือ เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยไม่ต้องรอให้สินค้าครบจำนวนการ (Partial Delivery) หรือเมื่อสินค้าทุกรายการพร้อมส่ง (Full Delivery)
​c. วันที่ต้องการสินค้า ระบุวันที่ที่ลูกค้าต้องการสินค้า ทั้งนี้ ระบบมีวันที่คาดการสินค้า โดยดูจาก Lead time ของสินค้า ที่ได้มีการตั้งค่าไว้เบื้องต้น

​4. ประเภทการติดตามทางการตลาด
​a. เอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ เอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายการนี้
​b. แคมเปญ คือ ใบเสนอราคานี้มาจากแคมเปญใดของบริษัท
​c. สื่อกลาง คือ ช่องทางที่ลูกค้าติดต่อมา
​d. แหล่งที่มา คือ แหล่งที่ลูกค้าเห็นข้อมูลนี้จากที่ใด

4. ข้อมูลส่วนท้ายรายการ (Footer)


 
​ข้อมูลส่วนท้ายรายการของใบเสนอราคา ประกอบไปด้วย

​​1. ก่อนส่วนลด คือ ราคาสินค้าก่อนส่วนลดส่วนท้ายบิล
​​2. ส่วนลด (%) คือ ส่วนลดท้ายบิล รูปแบบเปอร์เซ็นต์
​3. ส่วนลด (มูลค่า) คือ ส่วนลดท้ายบิล รูปแบบมูลค่าเงิน
​4. มูลค่าก่อนภาษี คือ มูลค่าสินค้าในรายการทั้งหมดหลังคำนวนส่วนลดท้ายบิลเรียบร้อยแล้ว
​5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่คำนวนจากฐานราคามูลค่าก่อนภาษี
​6. รวม คือ ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว

​เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถสร้างใบเสนอราคาจากระบบ BEECY ​ได้อย่างง่ายดาย

การสร้างใบเสนอราคา (Quotation)
BEECY Team 4 มกราคม ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
แท็ก
Loading...